TH EN
A A A

เกาหลีใต้แก้ไขระเบียบการติดฉลากและการโฆษณาอาหาร

11 มีนาคม 2568   

                กระทรวงความปลอดภัยอาหารและยาของเกาหลีใต้ (MFDS) ได้แก้ไขกฎระเบียบเรื่อง การติดฉลากและการโฆษณาอาหาร (Enforcement Rule of Act on Labeling and Advertising of Foods) โดยการยกเว้นคำเตือน “ห้ามแช่แข็งหลังละลาย (Do Not Refreeze After Thawing)” ของผลิตภัณฑ์น้ำแข็งก้อนและไอศกรีม
จะมีผลบังคับใช้ทันที ส่วนการแก้ไขอื่น ๆ จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2569
                การแก้ไขกฎระเบียบด้านการติดฉลากโภชนาการได้ครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง อาหารสัตว์แปรรูป เป็นต้น โดยจะถูกนำไปปรับใช้ตามขนาดของธุรกิจ แบ่งเป็น ธุรกิจที่มีรายได้ในปี พ.ศ. 2565 มากกว่า 12 พันล้านวอน จะเริ่มใช้กฎระเบียบใหม่ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2569 และธุรกิจที่มีรายได้ในปี พ.ศ. 2565 น้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 พันล้านวาน จะเริ่มใช้กฎระเบียบใหม่ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2571
1. การขยายข้อมูลฉลากโภชนาการให้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป   
                การแสดงข้อมูลโภชนาการของผลิตภัณฑ์อาหาร รวมถึงปริมาณของแคลอรี่ โซเดียม คาร์โบไฮเดต น้ำตาล ไขมัน โปรตีน ไขมันทรานส์ ไขมันอิ่มตัว และโคเลสเตอรอล เพื่อให้ประชาชนมีข้อมูลสุขภาพเกี่ยวกับอาหารที่บริโภค MFDS เสนอที่จะขยายขอบเขตการใช้ฉลากโภชนาการให้กับอาหารแปรรูปทั้งหมด จากการแก้ไขกฎระเบียบส่งผลให้อาหารที่ต้องมีฉลากโภชนาการจะขยายจาก 182 ชนิดในปัจจุบัน เป็น 259 ชนิด

                รายการอาหารใหม่ 77 ชนิดที่ต้องระบุฉลากโภชนาการ รายละเอียดเพิ่มเติม   
          
                อย่างไรก็ตาม MFDS ได้กำหนดประเภทอาหาร 30 รายการ ที่ได้ยกเว้นการฉลากโภชนาการ เช่น น้ำแข็ง หมากฝรั่ง และอาหารอื่น ๆ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อย รายละเอียดเพิ่มเติม

2. กำหนดให้ติดฉลาก คาเฟอีนสูงสำหรับ Solid foods ที่มีส่วนผสมของกัวรานา (Guarana)
                เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กโตได้รับคาเฟอีนมากเกินจากเยลลี่หรือของว่างอื่นที่มีคาเฟอีนสูง MFDS จึงเสนอข้อกำหนดให้ติดฉลาก “Solid foods containing Guarana” โดยปัจจุบันใช้เฉพาะกับอาหารเหลวเท่านั้น
                หลังจากมีการบังคับใช้แล้ว หาก Guarana ถูกนำมาเป็นส่วนประกอบของ Solid food และปริมาณคาเฟอีนในอาหารเกิน 0.15 มก./ก. ควรแสดงปริมาณคาเฟอีนทั้งหมดและคำเตือนเรื่องปริมาณคาเฟอีนสูงไว้บนบรรจุภัณฑ์อย่างชัดเจน เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2569 โดย 3 รายการหลักที่ต้องแสดงข้อมูล คือ

  • ผลิตภัณฑ์ที่มีคาเฟอีนสูง (고카페인 함유)
  • ปริมาณคาเฟอีนทั้งหมด : 000 มก. (총카페인 함량 000 mg.) หรือ คาเฟอีนต่อหนึ่งหน่วยบริโภค : 000 มก. (1회 섭취량 당 카페인 함량 000 mg.)
  • ข้อควรระวัง ไม่แนะนำสำหรับเด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้ที่มีความไวต่อคาเฟอีน (어린이, 임산부 및 카페인에 민감한 사람은 섭취에 주의해 주시기 바랍니다)

3. เพิ่มข้อกำหนดการติดฉลากน้ำตาลแอลกอฮอล์ (Sugar Alcohol)    
                    เนื่องจากความต้องการผลิตภัณฑ์แคลลอรี่ต่ำในตลาดเพิ่มมากขึ้น ผู้ผลิตจำนวนมากจึงใช้ Sugar Alcohol เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล อย่างไรก็ตาม การบริโภค Sugar Alcohol มากเกินไปจะทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ท้องเสีย MFDS จึงเสนอให้ขยายคำเตือนให้ครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์ที่มี Sugar Alcohol อย่างน้อย 10% ขึ้นไป ระบุชนิดและปริมาณเฉพาะของ Sugar Alcohol อย่างชัดเจน เช่น Sugar Alcohol (D-Sorbitol 4%,D-Maltitol 10%)
                * Sugar Alcohol ที่ได้รับอนุญาตให้เป็นสารเติมแต่งอาหารคือ Lactitol, mannitol, D-maltitol,D-sorbitol, erythritol, isomalt, xylitol, polyglycerol syrup, maltitol syrup, และ D-sorbitol liquid
                นอกจากนี้ คำเตือนเช่น ผลิตภัณฑ์ที่มี Sugar Alcohol การบริโภคมากเกินไปอาจทำให้ท้องเสียได้ (당알코올 함유제품으로 과량 섭취 시 설사를 일으킬 수 있습니다) ควรแสดงไว้ใกล้กับตารางส่วนผสมและสร้างความแตกต่างด้วยสีพื้นหลังตัดกัน

4. การยกเว้นคำเตือน “ห้ามแช่แข็งหลังละลาย” สำหรับอาหารแช่แข็งที่บริโภคในสถานะแช่แข็ง
                ปัจจุบันอาหารแช่แข็งจำเป็นต้องแสดงคำเตือนว่า “อย่าแช่แข็งซ้ำหลังจากละลายน้ำแข็ง(이미 냉동되었으니 해동 후 다시 냉동하지 마십시오)” อย่างไรก็ตาม สำหรับน้ำแข็งก่อน ไอศกรีม และอาหารอื่น ๆ ที่บริโภคในสถานะแช่แข็ง ไม่จำเป็นต้องผ่านกระบวนการละลายน้ำแข็งเพื่อการบริโภค ดังนั้น ผลิตภัณฑ์แหล่านี้จะได้รับการยกเว้นจากคำเตือน

 

 

ที่มา : Food.chemlinked สรุปโดย : มกอช.

 

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?