เมื่อ 28 พฤษภาคม 2551 คณะกรรมการห่วงโซ่อาหารและสุขภาพสัตว์ ของสหภาพยุโรปได้ลงคะแนนเสียงข้อเสนอที่ได้รับการผลักดันจากกรรมาธิการยุโรปด้านธุรกิจและอุตสาหกรรมเรื่องการยกเลิกการห้ามนำเข้าเนื้อไก่ที่ถูกล้างด้วยคลอรีนจากสหรัฐฯ โดยให้เหตุผลว่าไม่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ ที่สนับสนุนการห้ามนำเข้า และทำให้กระทบต่อความสัมพันธ์ของสองประเทศ ข้อเสนอดังกล่าวมีเงื่อนไขว่าเนื้อไก่ต้องผ่านการล้างด้วยน้ำสะอาดและติดฉลากว่า มีการใช้สารต้านจุลชีพ. หรือฆ่าเชื้อด้วยสารเคมี (ซึ่งการติดฉลากดังกล่าวนี้สหรัฐฯก็ไม่เห็นด้วยว่าอาจทำให้เสียภาพลักษณ์ของสินค้า) โดยเป็นการอนุญาตชั่วคราว 2 ปี หลังจากนั้นให้พิจารณาเมื่อมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม ผลการลงคะแนนเสียงไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอ 26 จาก 27 ประเทศ โดยสหราชอาณาจักรงดออกเสียง นาง Monica Frasson ประธานร่วม Green / EFA groups ยินดีกับการลงคะแนนเสียงดังกล่าวซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่ไม่ต้องการให้ดำเนินการตามแรงกดดันทางการค้าของสหรัฐฯ จนทำให้หย่อนมาตรฐานและระเบียบของสหภาพยุโรป ตัวแทนหลายกลุ่มเห็นว่า หากอนุญาตให้นำเข้าเนื้อไก่จากสหรัฐฯจะทำลายความพยายามของธุรกิจสหภาพยุโรปในการผลิตเนื้อไก่ที่มีคุณภาพที่ควบคุมสุขอนามัยเริ่มต้นตั้งแต่ขั้นตอนการฟักไข่ ไปตลอดวงจรการเลี้ยงดูเพื่อไม่ให้เกิดเชื้อที่เป็นอันตรายในห่วงโซ่อาหารมากกว่าการกำจัดเชื้อด้วยสารต้านจุลชีพในขั้นตอนสุดท้าย สหภาพยุโรปห้ามนำเข้าเนื้อไก่สหรัฐฯตั้งแต่ปี 2541 รวม 11 ปี เนื่องจากมีการอนุญาตให้ใช้สาร 4 ชนิดในขั้นตอนทำความสะอาด เช่น chlorine dioxide ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรประจำสหภาพยุโรป |