TH EN
A A A

UN ชี้มันฝรั่ง: อาหารสำหรับอนาคต

18 มิถุนายน 2551   
               การประชุมสัมมนาเร็วๆ นี้ที่เรียกว่า Cusco Conference ที่เปรูเกี่ยวกับมันฝรั่ง ซึ่งเป็นพืชอาหารที่ใช้พื้นที่น้อยกว่าข้าวโพด ข้าวสาลี และข้าว  นักวิทยาศาตร์บางคนเรียกมันฝรั่งว่า “อาหารสำหรับอนาคต”
               ปัจจุบันมันฝรั่งมีปลูกใน 100 ประเทศ  และถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบอาหารของโลกไปแล้ว  เป็นพืชอาหารที่ไม่ใช่ธัญญพืชอันดับหนึ่งซึ่งมีการผลิตสูงทำลายสถิติคือ 320 ล้านตันในปี 2550  การบริโภคมันฝรั่งเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่เก็บเกี่ยวมากกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่มันฝรั่งทั้งหมดของโลกแล้ว  มันฝรั่งเก็บเกี่ยวง่ายและมีพลังงานสูงซึ่งทำให้กลายเป็นพืชเงินสด (Cash crop) สำหรับเกษตรกรนับล้านๆคน  
               การสัมมนาครั้งนี้มีขึ้นในปีที่สหประชาชาติประกาศให้ปี 2551 เป็นปีแห่งมันฝรั่งเพื่อส่งเสริมศักยภาพที่เข้มแข็งขึ้นของมันฝรั่งในด้านการเกษตร  ด้านเศรษฐกิจ และความมั่นคงด้านอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่ยากจน 
อนาคตของมันฝรั่งสดใส  จีนซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตมันฝรั่งใหญ่ที่สุดของโลก ผลิตได้ 72 ล้านตันในปี 2550 ผู้เชี่ยวชาญการเกษตรคาดว่ามันฝรั่งจะกลายเป็นพืชอาหารหลักของประเทศที่มีพื้นที่แห้งแล้ง  อย่างไรก็ตาม ทั้ง FAO และศูนย์มันฝรั่งระหว่างประเทศ (CIP) ชี้ว่าการขยายประโยชน์จากการผลิตมันฝรั่งขึ้นอยู่กับการปรับปรุงพันธุ์   ระบบการทำฟาร์มที่สามารถใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน พันธุ์ที่ลดการใช้น้ำ ต้านทานโรคและแมลง
มีการพูดถึงยุทธศาตร์ของการส่งเสริมมันฝรั่งที่แตกต่างกันไปแต่ละลักษณะเศรษฐกิจ  ดังนี้  
               • สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับประเทศเกษตรซึ่งคนยากจนอาศัยอยู่ในชนบทเป็นหลักและมีการผลิตมันฝรั่งเพื่อการบริโภคในครัวเรือนและหากมีเหลือจึงจำหน่ายในตลาดท้องถิ่น คืองานวิจัยและเทคโนโลยีเพื่อปฏิวัติประสิทธิภาพการผลิต  และการเชื่อมโยงเกษตรกรผู้ผลิตเข้าสู่ตลาดท้องถิ่นหรือตลาดภูมิภาค    
               • สิ่งท้าทายสำหรับประเทศในอาฟริกาและเอเชียที่มีเศรษฐกิจเปลี่ยนผ่านคือระบบการทำฟาร์มแบบหนาแน่นและเชิงพาณิชย์ที่ยั่งยืน  การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในขณะที่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอาหารและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด   
                 • สิ่งท้าทายระบบเศรษฐกิจแบบเมืองของลาตินอเมริกา เอเชียกลาง และยุโรปตะวันออก คือการสร้างความมั่นใจว่าการปลูกมันฝรั่งมีความยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม  และการเชื่อมโยงเกษตรกรผู้ผลิตมันฝรั่งขนาดเล็กเข้าสู่ตลาดอาหารใหม่
 
ที่มา  :  Far Eastern Agriculture

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?