TH EN
A A A

เซี่ยงไฮ้ประกาศนำร่องใช้งานฉลาก Nutri-Grade

26 เมษายน 2567   

                    เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Municipal Center for Disease Control and Prevention: SCDC) ได้ประกาศนำร่องใช้งาน “ฉลากระดับโภชนาการ หรือ Nutri-Grade Labels” ในเซี่ยงไฮ้ โดยมีองค์กร 6 แห่งเข้าร่วม เป้าหมายเพื่อให้ประชาชนหันมาบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น 
                   ฉลากดังกล่าวแบ่งระดับโภชนาการออกเป็น 4 ระดับ ตั้งแต่เกรด A ถึงเกรด D โดยพิจารณาจากพฤติกรรมการดื่มของผู้บริโภค และปริมาณองค์ประกอบทางโภชนาการ ได้แก่ สารทดแทนนมที่มีน้ำตาล (non-dairy sugars) ไขมันอิ่มตัว (saturated fats) ไขมันทรานส์ (trans fats) และสารให้ความหวานแทนน้ำตาล (non-sugar sweeteners) โดยใช้มาตรฐานทั้งในประเทศและมาตรฐานสากลมาเป็นเกณฑ์ในการให้คะแนน ดังนี้:

                    ทั้งนี้ เกณฑ์การพิจารณาเกรดของเครื่องดื่มจะถูกกำหนดตามเกรดที่ต่ำสุดที่ได้รับการประเมิน เช่น หากเครื่องดื่มมีสารทดแทนนมที่มีน้ำตาล 5.6 กรัม/100 มล. (เกรด C) ไขมันอิ่มตัว 1.2 กรัม/100 มล. (เกรด B) ไขมันทรานส์ 0 กรัม/100 มล. (เกรด A) และไม่มีสารให้ความหวานที่ไม่ใช่น้ำตาล (เกรด A) “คะแนนโดยรวมของเครื่องดื่มชนิดนี้จะเท่ากับเกรด C” นอกจากนี้ เกณฑ์ในการพิจารณายังขึ้นอยู่กับขนาดของผลิตภัณฑ์ อุณหภูมิ และระดับของน้ำตาลด้วย
                    ฉลาก Nutri-Grade สามารถแสดงบนบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่ม ระบบการสั่งซื้อสินค้า รายการเมนูเครื่องดื่ม หรือเคาน์เตอร์จำหน่าย โดยเกรดของผลิตภัณฑ์ที่แสดงบนฉลากจะต้องเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ที่มีลักษณะขยายใหญ่ขึ้น กรณีที่ไม่สามารถแสดงฉลากแบบเต็มได้ ให้ใช้รูปแบบย่อที่มีเฉพาะตัวอักษร พร้อมด้วยคำอธิบายทางโภชนาการกำกับ ดังรูป:


                    จากข้อมูลขององค์กรแห่งหนึ่งที่เข้าร่วม พบว่า การติดฉลาก Nutri-Grade ลงในเมนูผลิตภัณฑ์ของร้านทำให้ยอดขายของเครื่องดื่มเกรด A และเกรด B เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผู้บริโภคเกือบ 70% หันมาเลือกเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพมากขึ้นหลังจากเข้าใจความหมายของฉลาก ทั้งนี้ ในปี 2023 มูลค่าทางการตลาดของเครื่องดื่มไร้น้ำตาลในจีนสูงถึง 24.1 พันล้านหยวน โดยเพิ่มขึ้น 26% เมื่อเทียบปีก่อนหน้า โดยเฉพาะเครื่องดื่มชาไร้น้ำตาลพร้อมดื่มที่มีอัตราการเติบโตถึง 110%
 

ที่มา : foodchemlinked สรุปโดย : มกอช.

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?