เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2567 กระทรวงเกษตรของสหรัฐอมริกา (USDA) ได้ข้อสรุปการแก้ไขการติดฉลากที่เป็นแหล่งกำเนิดสินค้า (Country of origin) เพื่อให้เกิดความชัดเจนแก่ผู้บริโภคและหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิดเกี่ยวกับแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ มาตรฐานดังกล่าวเป็นมาตรฐานสมัครใจ โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม 2569
ข้อสรุปดังกล่าวของ USDA จะอนุญาตให้กล่าวอ้างข้อความ ‘Product of USA’ และ ‘Made in the USA’ บนฉลากได้ในสินค้าเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก และไข่ที่เลี้ยง ฆ่าและแปรรูปในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น เพื่อความเข้าที่ตรงกันและไม่ทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้บริโภค เนื่องจากก่อนหน้านี้ฉลากที่ระบุข้อความดังกล่าวอาจมาจากสัตว์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ แต่มีการฆ่า บรรจุหีบห่อใหม่และแปรรูปเพิ่มเติมในสหรัฐฯ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเกิดความสันสน
ในเดือนมีนาคม 2566 USDA จึงได้ยื่นข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง เพื่อที่จะทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์มีต้นกำเนิดจากสหรัฐฯ และเพิ่มความเชื่อมั่นใจให้กับผู้ประกอบการขนาดเล็กเช่นกัน อย่างไรก็ตาม สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีขั้นตอนการเตรียมจากสหรัฐฯ สามารถเรียกร้องแหล่งที่มาของสหรัฐฯ ได้เพื่อเป็นหลักฐาน แต่จะต้องระบุคำอธิบายบนบรรจุภัณฑ์ แม้ว่าจะให้ใช้ได้ตามความสมัครใจ แต่ต้องยื่นเอกสารประกอบผลิตภัณฑ์ภายใต้กฎระเบียบใหม่กับ Food Safety and Inspection Service (FSIS) ซึ่งเป็นหน่วยงานของ USDA
ทั้งนี้ เป็นความความพยายามของ Farm Action ซึ่งเป็นหน่วยงานของสหรัฐฯ ตลอดระยะเวลา 6 ปี ภายใต้การสนับสนุนจากรัฐบาลประธานาธิบดีไบเดน เพื่อสร้างความเท่าเทียมอย่างยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมเนื้อและหยุดการผูกขาดของบริษัทบรรจุเนื้อข้ามชาติ ด้วยการติดฉลากบนเนื้อสัตว์นำเข้าด้วยการบรรจุหีบห่อใหม่ในสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลให้จำนวนเกษตรกรและเจ้าของฟาร์มลดลงอย่างมาก
นอกจากนี้ กฎระเบียบการติดฉลาก Product of USA ยังนำไปสู่การช่วยเหลือบริษัทแปรรูปเนื้อสัตว์และสัตว์ปีกขนาดเล็กที่ถูกครอบงำจากบริษัทรายใหญ่ โดย USDA ได้มอบเงินอุดหนุนมูลค่ากว่า 9.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 340 ล้านบาท) สำหรับอุปกรณ์แปรรูป เช่น เครื่องบดเนื้อ เครื่องยัดไส้ และเครื่องรมควัน โดยครอบคลุม 42 โครงการภายใต้แผน Local Meat Capacity เพื่อตอบสนองโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญสำหรับผู้ประกอบการปศุสัตว์และสัตว์ปีกในท้องถิ่นและระดับภูมิภาค สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ผลิตว่าผลิตภัณฑ์ของพวกเขาสามารถออกสู่ตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ และกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น ทำให้เกิดการจ้างงาน และเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคมากขึ้น
ที่มา : Just Food: https://www.just-food.com/ สรุปโดย : มกอช.