TH EN
A A A

ออส-นิวประกาศบังคับใช้ข้อกำหนดการติดฉลากสำหรับสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร

26 มีนาคม 2567   

                    สำนักงานมาตรฐานอาหารของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (FSANZ) ออกข้อกำหนดการติดฉลากอาหารใหม่ที่วางจำหน่ายในประเทศ โดยจะต้องแสดงข้อมูลสารก่อภูมิแพ้บนฉลากอาหาร ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2567 สำหรับอาหารที่บรรจุและติดฉลากก่อนวันดังกล่าว สามารถจำหน่ายได้ถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2569 ทั้งนี้ ข้อกำหนดดังกล่าวระบุไว้ใน Standard 1.2.3 ตารางที่  9 ของ Food Standard Code โดยมีรายละเอียดดังนี้
รายการอาหารที่อยู่ภายใต้การติดฉลากสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร ได้แก่ 
                    -  ข้าวสาลี
                    -  ปลา สัตว์น้ำเปลือกแข็ง หอย 
                    -  ไข่ และนม 
                    -  ถั่วลูปิน (Lipin) ถั่วลิสง ถั่วเหลือง (soy, soya, soybean) งา อัลมอนด์ ถั่วบราซิล เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เฮเซลนัท 
แมคคาเดเมีย พีแคน พิสตาชิโอ ถั่วไพน์ (Pine nut) วอลนัท 
                    -  ข้าวบาร์เลย์* ข้าวโอ้ต* ข้าวไรย์* 
                    -  ซัลไฟท์ (sulphites) **
* หากมีข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต ข้าวไรย์ ที่มีส่วนผสมของกลูเตน ต้องระบุว่าว่ามี ‘กลูเตน’ (Gluten)
** หากเติมสารกลุ่มซัลไฟท์ในปริมาณเท่ากับหรือมากกว่า 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ต้องระบุ ‘ซัลไฟท์’ (Sulphites)

 

ข้อกำหนดการติดฉลาก
                    -  ชื่อส่วนผสมต้องเป็นตัวหนา และขนาดตัวอักษรไม่เล็กกว่าส่วนผสมอื่น ๆ เช่น maltodextrin (wheat), milk powder
                    -  แสดงข้อความแยกสำหรับส่วนผสมที่เป็นสารก่อภูมิแพ้ โดยจะต้องเป็นตัวหนาที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า contains อยู่ในระดับเดียวกันและติดกับข้อความส่วนผสม เช่น Contains milk
                    นอกจากนี้ สำหรับผลิตภัณฑ์และอาหารที่มีส่วนผสมจากผึ้ง เช่น เกสรผึ้ง (Bee pollen) โพรโพลิส (propolis) นมผึ้ง (royal jelly) จะต้องมีป้ายกำกับคำเตือนหรือคำแนะนำด้วย และอาหารบางชนิดที่เปลี่ยนองค์ประกอบให้ผู้บริโภคที่เป็นโรคภูมิแพ้รับประทานได้ ไม่จำเป็นต้องระบุว่ามีสารก่อภูมิแพ้ 
                    สามารถดูรายละเอียเพิ่มเติมได้ที่ https://www.foodstandards.gov.au/business/labelling/allergen-labelling 

 

ที่มา : Food Standards Australia New Zealand สรุปโดย : มกอช.

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?