ไนจีเรียอนุมัติการปล่อยข้าวโพดดัดแปรพันธุกรรม TELA 4 พันธุ์ในเชิงพาณิชย์ เพื่อเพิ่มความต้านทานแมลงและทนต่อสภาวะแล้ง นอกจากแอฟริกาใต้แล้ว ไนจีเรียคือประเทศที่ 2 ในแอฟริกาที่อนุมัติให้มีการจำหน่ายข้าวโพดดัดแปรพันธุกรรมในเชิงพาณิชย์ จากข้อมูลของ African Agriculture Technology Foundation (AATF) รายงานว่า การตลาดปี 2565/66 ไนจีเรียผลิตข้าวโพดประมาณ 12.7 ล้านตัน โดยมีผลผลิตเฉลี่ย 2.2 ตัน/เฮกตาร์ อย่างไรก็ตาม ผลผลิตข้าวโพด TELA อาจสูงถึง 10 ตัน/เฮกตาร์ หากปลูกภายใต้การจัดการเกษตรที่ดี
เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2567 ในเมืองอิบาดัน (Ibadan) คณะกรรมการแห่งชาติของไนจีเรียที่ดูแลเกี่ยวกับการตั้งชื่อ การจดทะเบียน และการปล่อยพันธุ์พืชพันธุ์ปศุสัตว์/ประมง (National Committee on Naming, Registration, and Release of Crop Varieties, Livestock Breeds/Fisheries: NCNRRCVLF) ได้ประกาศอนุมัติพันธุ์พืชใหม่ 23 สายพันธุ์ในเชิงพาณิชย์ รวมถึงข้าวโพด 4 สายพันธุ์ที่ได้รับการอนุมัติ ได้แก่ SAMMAZ 72T, SAMMAZ 73T, SAMMAZ 74T และ SAMMAZ 75T ซึ่งเป็นพันธุ์ใหม่ที่ทนต่อสภาวะแล้งและต้านทานต่อหนอนเจาะลำต้นและหนอนกระทู้ผัก ที่เป็นศัตรูพืชของข้าวโพดหลายประเทศในแอฟริกา ซึ่งสร้างความเสียหายผลผลิตมากกว่า 20-50% จากข้อมูลในปี 2559 พันธุ์ใหม่เหล่านี้ทำให้มีผลผลิตสูงถึง 10 ตัน/เฮกตาร์ หากมีการจัดการเกษตรที่ดี และผลผลิตเฉลี่ยของประเทศมีเพียง 6 ตัน/เฮกตาร์
ในเดือนตุลาคม 2564 สำนักงานการจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติ (NBMA) อนุมัติให้เพาะปลูกและทดลองในภาคสนาม โดยสถาบันวิจัยเกษตร (IAR) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของข้าวโพด GMO ทั้ง 4 สายพันธุ์ ในพื้นที่ 10 รัฐ ที่มีความแตกต่างกัน ผลการทดสอบแสดงพบว่า ผลผลิตเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 3 ตัน/เฮกตาร์
เมื่อเทียบกับพันธุ์ลูกผสมแบบเดิม ข้าวโพด TELA สามารถช่วยฟื้นฟูผลลิตที่สูญเสียไป ลดต้นทุนแรงงานและการใช้ยาฆ่าแมลง อีกทั้งยังมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับ 20 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ การนำข้าวโพด GMO ต้านทานการมาใช้หลังจากการอนุมัติจากพระราชบัญญัติ GMO เมื่อปี 2540 และคาดว่าเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด TELA จะมีการนำเข้าจากแอฟริกาใต้ ประมาณ 95% ของบริษัทเมล็ดพันธุ์ของไนจีเรียท่านั้น แต่สำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ TELA ยังคงต้องมีการประชาสัมพันธ์และฝึกอบรมเพิ่มเติมให้กับบริษัท ผู้จัดจำหน่าย และกลุ่มเกษตรกรรม อย่างไรก็ตาม พันธุ์ดังกล่าวเหมาะกับป่าดิบชื้น ป่าในประเทศกินี (guinea) และป่าสะวันนาในซูดาน
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://apps.fas.usda.gov/newgainapi/api/Report/DownloadReportByFileName?fileName=Nigeria%20Becomes%20Second%20African%20Country%20to%20Approve%20Biotech%20Corn%20for%20Commercial%20Planting_Lagos_Nigeria_NI2024-0001.pdf
ที่มา : GRAIN report สรุปโดย : มกอช.