TH EN
A A A

นักวิจัยมะกันพัฒนาอะโวกาโดสายพันธุ์ใหม่ช่วยลดขยะอาหาร

8 มกราคม 2567   

                    อะโวกาโดจำนวนมากถูกโยนลงถังขยะเมื่อเปลือกของมันกลายเป็นสีดำและแข็ง แน่นอนว่าอะโวกาโดที่สุกเกินไปสามารถนำไปใช้ทำน้ำซุปหรือกัวคาโมเล ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียริเวอร์ไซด์สหรัฐอเมริกา จึงได้ศึกษาและพัฒนาอะโวกาโดสายพันธุ์ใหม่ขึ้นเพื่อลดของเสียจากอะโวกาโดและลดผลกระทบต่อการเพาะปลูกให้น้อยที่สุด
                    การผลิตอะโวกาโดส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศอย่างมาก เนื่องจากต้องใช้น้ำประมาณ 1,000 ลิตร เพื่อผลิตผลอะโวกาโดเพียง 1 กิโลกรัม นอกจากนี้ยังมีต้นทุนการขนส่งสูง เนื่องจากเรือบรรทุกสินค้าต้องเก็บรักษาอะโวกาโดที่อุณหภูมิ 6 องศาเซลเซียส เพื่อป้องกันการสุกงอม และถึงแม้ว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการปลูกอะโวกาโดจะเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว แต่หลายคนยังไม่ได้คำนึงถึงปัญหาของเสียซึ่งเกิดจากการซื้ออะโวกาโดที่แข็งกระด้างและทิ้งลงถังขยะเพราะมันสุกเกินไป โดยเฉพาะสายพันธุ์ยอดนิยมของโลกอย่างสายพันธุ์ Hass ซึ่งวิธีหนึ่งในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตอะโวกาโดคือการช่วยให้ผู้บริโภคสามารถสังเกตสีของอะโวกาโดได้ดีขึ้นว่าเมื่อไหร่ที่จะสามารถบริโภคอะโวกาโดได้ 
                    ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียริเวอร์ไซด์ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐที่มีการผลิตอะโวกาโดมากที่สุดในประเทศ โดยนักวิจัยใช้เวลากว่า 50 ปี ในการปรับปรุงพันธุ์และทดสอบในพื้นที่ปลูกหลายพันแห่ง และในที่สุดก็ได้อะโวกาโดสายพันธุ์ใหม่ที่มีสีเขียว ซึ่งทำให้สังเกตได้ว่ายังเป็นอะโวกาโดที่ยังไม่โตเต็มที่
                    อะโวกาโดสายพันธุ์ใหม่นี้มีชื่อว่า Luna ซึ่งจะให้ความอร่อยแก่ผู้บริโภค มีคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวสูงมาก และเปลือกของมันจะเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อสุกแล้วเท่านั้น รวมทั้งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อโลกน้อยลง เนื่องจากต้นมีขนาดเล็กและสามารถปลูกได้อย่างหนาแน่นในพื้นที่ขนาดเล็ก อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการยืนยันว่า Luna ต้องใช้น้ำมากน้อยเพียงใด โดยปัจจุบัน Luna อยู่ระหว่างยื่นจดสิทธิบัตร 

 

ที่มา : Free Malaysia Today สรุปโดย : มกอช.

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?