TH EN
A A A

จีนประกาศมาตรฐานบังคับสำหรับบรรจุภัณฑ์สินค้าเกษตร

22 ธันวาคม 2566   

                    ผู้ค้าปลีกที่ส่งออกผลไม้ต้องตื่นตัวอีกครั้ง เนื่องจากหน่วยงานกำกับดูแลด้านการตลาดของจีน (State Administration for Market Regulation: SAMR) ออกข้อกำหนดด้านบรรจุภัณฑ์ที่เกินความจำเป็นสำหรับสินค้าเกษตรที่รับประทานสด (GB43284-2023)  ซึ่งเป็นมาตรฐานบังคับระดับชาติฉบับแรกที่มุ่งเน้นไปที่ข้อกำหนดทางเทคนิคและการกำหนดบรรจุภัณฑ์ที่เกินความจำเป็นสำหรับสินค้าเกษตรที่บริโภคได้ 5 ประเภทหลัก ได้แก่ ผัก (รวมเชื้อราที่กินได้) ผลไม้ เนื้อสัตว์และเนื้อสัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์ประมง และไข่ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2567 ทั้งนี้ กำหนดระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน 6 เดือน และกำหนดว่า “สินค้าเกษตรรับประทานสดที่ผลิตหรือนำเข้าก่อนวันที่มีผลบังคับใช้ สามารถจำหน่ายได้จนกว่าสินค้าจะหมดอายุ (end of the shelf life)” โดยมีประเด็นสำคัญ 3 ประเด็น ดังนี้ 
1. อัตราส่วนพื้นที่ว่างระหว่างบรรจุภัณฑ์ (interspace ratio) ควรมีพื้นที่ว่างด้านบน 10% - 25%

หมวดหมู่ น้ำหนักสุทธิ (m) อัตราส่วนระหว่างพื้นที่  (%)
ผัก (รวมเชื้อราที่กินได้)

≤1

≥1

≤25

≤20

ผลไม้

≤1

1<m≤3

>3

≤20

≤15

≤10

เนื้อสัตว์และเนื้อสัตว์ปีก

≤1

1<m≤3

>3

≤20

≤15

≤10

ผลิตภัณฑ์ประมง

≤1

>1

≤25

≤20

ไข่

≤3

>3

≤20

≤15

หมายเหตุ 1. ตารางนี้ไม่ได้บังคับใช้กับสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์เพียงชิ้นเดียว 
              2. หากในบรรจุภัณฑ์มีสินค้าเกษตรที่รับประทานสดได้ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป น้ำหนักสุทธิคือผลรวมของสินค้าเกษตรทั้งหมดในบรรจุภัณฑ์ และข้อกำหนดของอัตราส่วนพื้นที่ว่างของบรรจุภัณฑ์กับน้ำหนักสุทธิต้องสอดคล้องกัน

2. จำนวนชั้นบรรจุของผลิตภัณฑ์

หมวดหมู่ จำนวนชั้น
ผัก (รวมเชื้อราที่กินได้) ≤3
ผลไม้ ≤4
เนื้อสัตว์และเนื้อสัตว์ปีก ≤4
ผลิตภัณฑ์ประมง ≤4
ไข่ ≤3

 

3. ต้นทุนบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดต่อราคาขาย

หมวดหมู่ ราคาขาย (หยวน) ต้นทุนบรรจุภัณฑ์ต่อราคาขาย (%)
ผัก (รวมเชื้อราที่กินได้) - ≤20
ผลไม้ - ≤20
เนื้อสัตว์และเนื้อสัตว์ปีก

≤100

>100

≤20

≤15

ผลิตภัณฑ์ประมง

≤100

>100

≤20

≤15

ไข่    

≤100

>100

≤20

≤15

หมายเหตุ 1. วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม่ควรใช้วัสดุที่มีมูลค่า เช่น โลหะมีค่า ไม้มะฮอกกานี ฯลฯ
              2. สตรอว์เบอร์รี่ เบย์เบอร์รี่ โลควอท เนื้อสัตว์และเนื้อสัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์ประมง มีราคาขายมากกว่า 100 หยวน อัตราส่วนต้นทุนบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดต่อราคาขายไม่ควรเกิน 15%

                    การบรรจุผลไม้ด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์เป็นการช่วยถนอมและป้องกันผลไม้เสียหายระหว่างการขนส่ง แต่ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการใช้บรรจุภัณฑ์อย่างสิ้นเปลืองมากขึ้น โดยออกแบบให้มีความสวยงาม ขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและดึงดูดผู้บริโภค ซึ่งจะก่อให้เกิดขยะและสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
                   ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและกิจการชนบทของจีนหวังว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยลดการใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่สิ้นเปลืองและปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงราคาที่ผู้บริโภคที่ต้องจ่ายแพงขึ้น โดยส่งเสริมให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าอย่างมีสติและไม่ซื้อสินค้าที่ห่อบรรจุภัณฑ์มากเกินไป
                   สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://fas.usda.gov/data/china-national-standard-requirements-restricting-excessive-packaging-fresh-edible-agricultural 

 

ที่มา : Fresh Plaza สรุปโดย : มกอช.

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?