TH EN
A A A

รายงานผลการศึกษาความคิดเห็นและทัศนคติของผู้บริโภคชาวรัสเซียที่มีต่อสินค้าทุเรียนสด และสินค้าโปรตีนจากแมลง (จิ้งหรีด) จากประเทศไทย

9 ตุลาคม 2566   

                    ฝ่ายเกษตร ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก (ฝ่ายเกษตรฯ มอสโก) ได้ดำเนินการศึกษาความคิดเห็นและทัศนคติของผู้บริโภคชาวรัสเซียที่มีต่อสินค้าทุเรียนสด และสินค้าโปรตีนจากแมลง (จิ้งหรีด) จากประเทศไทย โดยผลการศึกษา พบว่า ชาวรัสเซียรู้จักและมีความคุ้นเคยกับทุเรียนสดของไทย และเมื่อได้ชิมตัวอย่างทุเรียนหมอนทองสด (แช่แข็ง) พบว่าผู้บริโภคชาวรัสเซียมากถึงร้อยละ 85.9 มีความคิดว่าจะซื้อหรืออาจจะซื้อทุเรียนมาบริโภคอีกในอนาคต ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 14.1 เท่านั้นที่คิดว่าจะไม่ซื้อทุเรียนมาบริโภคอีก ทั้งนี้ จากผลการสำรวจยังพบว่าปัจจัยที่ส่งเสริมการตัดสินใจซื้อทุเรียน คือ ราคาที่เหมาะสม คุณภาพ/ความสดของทุเรียน และความยากง่ายต่อการเข้าถึงช่องทางการจำหน่ายทุเรียนสด ในขณะที่ปัจจัยเชิงลบของสินค้าทุเรียนในมุมมองผู้บริโภคชาวรัสเซีย ได้แก่ ราคาสูง มีกลิ่นแรง สถานที่จำหน่ายทุเรียนยังมีจำนวนจำกัด และยังขาดความรู้ในการเลือกซื้อผลทุเรียนสด
                    ขณะที่การรับรู้และทัศนคติเกี่ยวกับสินค้าโปรตีนจากแมลง จากการสำรวจพบว่าชาวรัสเซียส่วนใหญ่ (ร้อยละ 45.9) ยังลังเลที่จะทดลองบริโภคสินค้าโปรตีนจากแมลง แต่อาจจะตัดสินใจทดลองหากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีรสชาติที่รับได้ ในขณะที่ผู้บริโภคร้อยละ 19.1 ไม่ต้องการทดลองบริโภคสินค้าโปรตีนจากแมลง เมื่อสอบถามเกี่ยวกับประเภทของสินค้าโปรตีนจากแมลงที่มีความน่าสนใจ (หากมีการวางจำหน่าย) พบว่า 3 อันดับแรก ได้แก่ โปรตีนบาร์/ขนม เส้นพาสต้า/ก๋วยเตี๋ยว และเบเกอรี่ และเมื่อสอบถามความเห็นเกี่ยวกับราคาสินค้าโปรตีนจากแมลง ผู้เข้ากิจกรรมส่วนใหญ่มีความเห็นว่าราคาอาหารที่มีส่วนผสมของโปรตีนจากแมลง ควรมีราคาเท่ากับสินค้าโปรตีนชนิดอื่น (ร้อยละ 57.1) หรือถูกกว่าเล็กน้อย (ร้อยละ 30.2) ทั้งนี้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (ร้อยละ 58.1) มีความเห็นเพิ่มเติมว่าสินค้าโปรตีนจากแมลงของไทยอาจจะมีโอกาสทำตลาดในรัสเซียได้ หากผู้บริโภครัสเซียสามารถรับสินค้าอาหารที่มาจากแมลงได้
สามารถอ่านเนื้อหาเพิ่มได้ที่ : 

 

ที่มา : ฝ่ายเกษตร ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก สรุปโดย : มกอช.

เอกสารดาวน์โหลด

   ชื่อเอกสาร ขนาด จำนวนดาวน์โหลด   
รายงานผลการศึกษา.pdf 905 KB 280

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?