TH EN
A A A

สิงคโปร์ปรับปรุงระเบียบอาหารปี 66

12 พฤษภาคม 2566   

                    เมื่อวันที่ 18 เมษายน ที่ผ่านมา สำนักงานอาหารของสิงคโปร์ (SFA) ได้เผยแพร่กฎระเบียบด้านอาหารปี 2566 ฉบับปรับปรุง ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 28 เมษายน 2566 โดยมีการแก้ไขที่สำคัญดังนี้:
1. แก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกันเสีย Class IV ในผลิตภัณฑ์อาหาร
                    - เพิ่มสาร nisin ลงในรายการวัตถุกันเสียที่ต้องห้ามนำเข้า ขาย โฆษณา ผลิต ฝากขาย หรือจัดส่ง Class IV (ยกเว้นในผลิตภัณฑ์ไข่ชนิดเหลว ชีส และอาหารกระป๋องที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อนเพื่อกำจัดสปอร์เชื้อ Clostridium botulinum)
2. แก้ไขคำจำกัดความของสารในข้อบังคับที่ 32 และ 33

  ระเบียบเดิม ระเบียบใหม่
คำจำกัดความ  ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic): สารเคมีใดๆ ที่เกิดจากการสังเคราะห์ทางเคมี หรือจุลินทรีย์ที่มีความเข้มข้นต่ำ ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตหรือทำลายแบคทีเรียและจุลินทรีย์อื่นๆ ได้ สารต้านจุลชีพ (Antimicrobial agent): สารใดๆ ที่มาจากธรรมชาติ ทั้งสารสังเคราะห์หรือกึ่งสังเคราะห์ ซึ่งสามารถฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส และจุลินทรีย์อื่นๆ
ข้อกำหนดของสารตกค้าง ห้ามไม่ให้ตรวจพบการตกค้างของยาปฏิชีวนะหรือผลิตภัณฑ์ที่สลายตัวได้ในอาหาร ควบคุมการตกค้างที่ตรวจพบได้ของสารต้านจุลชีพหรือผลิตภัณฑ์ที่สลายตัวได้ในอาหาร โดยมีข้อยกเว้นสำหรับยารักษาสัตว์


 3. เพิ่มตารางที่ 18 ซึ่งเกี่ยวกับ MRLs สำหรับยารักษาสัตว์ในอาหาร เช่น

สารตกค้างที่อนุญาต หมวดหมู่ ปริมาณสารตกค้างสูงสุด (mcg/kg)
6-Alpha-Methylprednisolone   

-ไขมันหมู    

-นมวัว   

20

20

Albendazole

-นมวัว

-นมแกะ

100

5

Amoxicillin

-นมวัว

-นมแพะ

-ตับแกะ

4

4

50


สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sfa.gov.sg/docs/default-source/default-document-library/circular-on-food-(amendment)-regulations-2023_veterinary-drug-residues-(14-apr-2023).pdf
 

ที่มา : SFA (Singapore) สรุปโดย : มกอช.

 

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?