TH EN
A A A

FAO เรียกร้องทั่วโลกส่งเสริม เนื้อ-นม-ไข่

8 พฤษภาคม 2566   

                   เมื่อวันอังคารที่ 25 เมษายน 2566 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกส่งเสริมคุณประโยชน์ของอาหารที่มาจากสัตว์ เนื่องจากเนื้อสัตว์ ไข่ และนม เป็นแหล่งอาหารที่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนกลุ่มเปราะบาง โดยรายงานฉบับใหม่ของ FAO ที่มีชื่อว่า Contribution of the terrestrial animal source food to healthy Dies for Improvement of Nutrition and Health Results ได้ระบุว่าสารอาหารจำเป็นหลายชนิดที่มีในวัตถุดิบจากสัตว์ไม่สามารถทดแทนได้จากการบริโภคพืช 
                       อาหารรองที่หาได้ยากจากอาหารที่เน้นพืชในคุณภาพและปริมาณที่ต้องการ ซึ่งสารอาหารที่จำเป็นบางอย่างจากอาหารที่มาจากเนื้อสัตว์ ได้แก่ โปรตีนคุณภาพสูง กรดไขมันจำเป็นหลายชนิด ธาตุเหล็ก แคลเซียม สังกะสี ซีลีเนียม วิตามินบี 12 และสารประกอบหลายชนิดที่รวมถึง carnitine, creatine และ taurine ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมีหน้าที่ด้านสุขอนามัยและการส่งเสริมพัฒนาการ รายงานระบุว่าการขาดธาตุเหล็กและวิตามินเอเป็นหนึ่งในการขาดสารอาหารที่พบมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะในเด็กและสตรีมีครรภ์ ในจำนวนเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการขาดสารอาหารนั้นพบว่าจำนวน 3 ใน 4 ของเด็กเหล่านี้อาศัยอยู่ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก ภูมิภาคแปซิฟิก และแอฟริกาตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา
                   ทั้งนี้ในภาคปศุสัตว์นั้นยังคงต้องมีส่วนร่วมในการจัดการกับความท้าทาย โดยเฉพาะในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน การปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้น้ำอย่างไม่ยั่งยืน และมลพิษ และยังมีความท้าทายอื่น ๆ ที่ภาคปศุสัตว์ทั่วโลกต้องเผชิญ ได้แก่ การจัดการฝูง สุขภาพของสัตว์ และปัญหาสังคมที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสัตว์ในบางพื้นที่ของโลก นอกจากนี้ในแง่ความเสี่ยงต่อสุขภาพของอาหารเหล่านี้ FAO ได้กล่าวเพิ่มเติมในรายงานว่า ถึงแม้การบริโภคเนื้อแดงแปรรูปจะสามารถเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคเรื้อรังได้ แต่การบริโภคเนื้อแดงที่ยังไม่ผ่านการแปรรูปในปริมาณปานกลาง (ปริมาณบริโภคสูงสุด 71 กรัมต่อวัน) ถือว่าปลอดภัยต่อการเกิดโรคเรื้อรัง ในขณะเดียวกันหลักฐานที่เชื่อมโยงนม ไข่ หรือสัตว์ปีกต่อการเกิดโรคเรื้อรังนั้นยังสรุปไม่ได้ (ในกรณีของนม) และไม่มีนัยสำคัญ (ในกรณีของไข่และสัตว์ปีก)

 

ที่มา : Agriland สรุปโดย : มกอช.

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?

ERROR MYSQL NO.:: 126