บริษัทสัญชาติมาเลเซียแห่งหนึ่งได้วางแผนที่จะสร้างโรงงานผลิตเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงแห่งแรกของประเทศในเมืองปีนังให้เสร็จสิ้นภายในปี 2567 โดยเซลล์สิ่งมีชีวิตจะถูกเพาะเลี้ยงให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคด้วยการใช้ถังปฏิกรณ์ชีวภาพ ทั้งนี้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อสัตว์เป็นกระบวนการที่เชื่อว่าจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าการทำเกษตรแบบดั้งเดิม เนื่องจากเนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการมีการใช้พื้นที่น้อยกว่ามากและสามารถผลิตได้ใกล้กับผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการเลี้ยงปศุสัตว์แบบเดิมและลดระยะการขนส่งผลิตภัณฑ์
รายงานขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่าการทำฟาร์มปศุสัตว์ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกคิดเป็นสัดส่วนถึง 14.5% จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดของมนุษย์ ส่วนใหญ่มาจากการผลิตอาหารสัตว์และการย่อยอาหารของสัตว์ เช่น การปล่อยก๊าซมีเทนจากวัว ซึ่งเป็นก๊าซที่อันตรายต่อชั้นบรรยากาศมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์
ก่อนหน้านี้บริษัทดังกล่าวเคยมีประสบการณ์เพาะเลี้ยงเนื้อปลามาก่อนแล้ว และได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มปริมาณการผลิตเนื้อสัตว์เพื่อการส่งออกภายในปี 2568 รวมทั้งอยู่ระหว่างหารือแนวทางพัฒนากฎระเบียบรองรับการผลิต จำหน่าย และรับรองความปลอดภัยร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขของมาเลเซีย เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคเป้าหมาย
สามารถอ่านข้อมูลการวิเคราะห์เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ รวมถึงการการประชุม Extinction or Regeneration ได้ที่ : https://www.fareasternagriculture.com/event-news/events/2023-could-be-a-game-changer-for-lab-grown-meat
ที่มา : Far Eastern Agriculture สรุปโดย : มกอช.