เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กลุ่มตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง (MERCOSUR) ได้ออกร่างข้อบังคับใหม่เกี่ยวกับการใช้ซิลิโคนในวัสดุสัมผัสอาหาร (FCM) รวมถึง Positive list และปริมาณการเคลื่อนย้ายสารจําเพาะ (Specific Migration Limit: SML) สำหรับเกลือโลหะ โดยมีจุดมุ่งหมายในการปกป้องสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค และจะเปิดรับความเห็นจนถึงวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 ซึ่งมีสาระที่สำคัญ ดังนี้
ขอบเขตการใช้งาน | ใช้กับซิลิโคนในวัสดุ ภาชนะ การเคลือบ และอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อสัมผัสกับอาหาร (ไม่รวมการเคลือบวัสดุเซลลูโลส) |
ข้อกำหนดทั่วไป | อุปกรณ์ที่สัมผัสกับอาหารที่มีซิลิโคนจะต้องผลิตตามมาตรฐาน GMP และต้องใช้รายการของสารตาม Positive list ใน Part I ถึง Part V ของระเบียบใหม่รวมทั้งปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆ |
Positive list | (1) น้ำมันซิลิโคนและอิมัลชันที่เกี่ยวข้อง (2) เรซินซิลิโคน (3) ซิลิโคนอีลาสโตเมอร์ (ยางซิลิโคน) (4) สารเติมแต่ง สารเติมเต็ม และสารเติมแต่งสำหรับสารตัวเติม (5) โมโนเมอร์ |
ปริมาณการเคลื่อนย้ายสารจําเพาะ (SML) สำหรับเกลือโลหะ |
อนุญาตให้ใช้เกลือ (รวมถึงเกลือสองเชิงและเกลือกรด) กรดฟีนอลหรือแอลกอฮอล์ เป็นสารเติมแต่ง แต่ต้องมีค่า SML ทั้งหมดไม่เกินที่กำหนด ดังนี้ อะลูมิเนียม (Al) ≤ 1 มก./กก., แบเรียม (Ba) ≤ 1 มก./กก., โคบอลต์ (Co) ≤ 0.05 มก./กก. ทองแดง ≤ (Cu) 5 มก./กก. เหล็ก (Fe) ≤ 48 มก./กก. ลิเธียม (Li) ≤ 0.6 มก./กก. แมงกานีส (Mn) ≤ 0.6 มก./กก. นิกเกิล (Ni) ≤ 0.02 มก./กก. และสังกะสี (Zn) ≤ 5 มก./กก. |
ข้อจำกัดอื่น ๆ | สารอินทรีย์ระเหยง่าย ≤ 0.5% สารประกอบที่สกัดได้ ≤ 0.5% ผลรวมของสารจำพวกอะโรมาติกเอมีน (Primary aromatic amines: PAA) ≤ 0.01 มก./กก |
ซิลิโคน เป็นสารเคมีที่ใช้ในวัสดุสัมผัสอาหารกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งช่วยให้พลาสติกเกิดความนิ่ม ยืดหยุ่น และทนความร้อนมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ซิลิโคนอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ได้ เช่น ทำให้เกิดการระคายเคืองและเป็นผลเสียต่อร่างกายมนุษย์ โดยกฎระเบียบที่เสนอใหม่ของ MERCOSUR จะคล้ายกับระเบียบของ EU ซึ่งหมายความว่าประเทศสมาชิกจะต้องเปลี่ยนระเบียบ/คำสั่งเป็นข้อบังคับที่ใช้กับเงื่อนไขของประเทศตนเอง ซึ่งอาร์เจนตินาและอุรุกวัยได้แจ้งกับ WTO เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นแล้ว
ศึกษาข้อบังคับใหม่เพิ่มเติมได้ที่ https://www.gub.uy/ministerio-industria-energia-mineria/sites/ministerio-industria-energia-mineria/files/documentos/noticias/93683_P.%20Res.%2006-22_RTM%20Siliconas.ES_.pdf
ที่มา : กระทรวงอุตสาหกรรมอุรุกวัย สรุปโดย : มกอช.