นักวิจัยญี่ปุ่นได้พัฒนาหุ่นยนต์การเกษตรที่มีความสามารถในการหว่าน ตัดแต่งกิ่ง และเก็บเกี่ยวพืช ซึ่งช่วยแก้ไขปัญหาในการดำเนินงาน และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการทำฟาร์มแบบ “Synecoculture” ขนาดใหญ่ “Synecoculture” คือ เทคนิคการทำฟาร์มผสมผสานแบบใหม่ ที่มีการปลูกพืชแบบหนาแน่นซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับระบบนิเวศและปรับปรุงความหลากหลายทางชีวภาพ แต่เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน ที่ต้องอาศัยความรู้ในการคัดเลือกพันธุ์พืชตามระยะเวลาการเติบโตและฤดูในการปลูกที่เหมาะสม
หุ่นยนต์ “SynRobo” เป็นหุ่นยนต์พลังงานแสงอาทิตย์ มีกลไก 4 ล้อที่ช่วยให้เคลื่อนที่บนพื้นที่ไม่เรียบได้ โดยแขนหุ่นยนต์สามารถขยายและหดตัวเพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางได้ และยังมีระบบกล้อง 360 องศา เพื่อจดจำและควบคุมสภาพแวดล้อม นอกจากนี้ ยังเต็มไปด้วยเครื่องมือทำฟาร์มต่างๆ เช่น พุก (สำหรับเจาะรู) กรรไกรตัดแต่งกิ่ง และการตั้งค่าการเก็บเกี่ยว ทั้งนี้ยังได้คิดค้นเทคนิคในการเพาะเมล็ด โดยการนำดินมาเคลือบเมล็ดพืชให้มีขนาดเท่าๆ กัน เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถหว่านเมล็ดได้ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพ ซึ่งหุ่น SynRobo ยังสามารถใช้ได้ในการทำการเกษตรแบบทั่วไป แต่จำเป็นต้องเปลี่ยนเครื่องมือตามความเหมาะสมของพืชนั้น โดยเทคโนโลยีใหม่นี้ อาจมีศักยภาพในการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินในประเทศกำลังพัฒนา เช่น เคนยา โดยบริษัทที่ผลิตหุ่นยนต์กำลังเตรียมนำนวัตกรรมนี้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในหลายพื้นที่
ที่มา : Irish examiner สรุปโดย : มกอช.