TH EN
A A A

นักวิจัยพบเติมเกลือลดความเครียดปลานิลตอนขนส่ง

6 กุมภาพันธ์ 2566   

                 นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัย Peoples’ Friendship University of Russia (มหาวิทยาลัย RUDN) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การประมงอิหร่าน (Iranian Fisheries Sciences Research Institute, the Federal Institute of Education) สถาบันการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสหพันธรัฐ Catarinense (Science and Technology Catarinense) และมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติ Gorgan (Gorgan University of Agricultural Sciences and Natural Resources) ได้ประเมินผลของการเพิ่มปริมาณที่แตกต่างกันของ เกลือ (0, 2 และ 4 กรัม/ลิตร) ในการขนส่งน้ำที่มีผลต่อความเครียดและพารามิเตอร์การต้านอนุมูลอิสระของปลานิล (Oreochromis niloticus) หลังจากการขนส่ง 3 ชั่วโมง
                 การศึกษาก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการใช้เกลือในน้ำขนส่งได้เปิดเผยว่าการเติมเกลือ 1 และ 2 กรัม/ลิตร จะลดปริมาณแบคทีเรียในน้ำลง และ 4 และ 8 กรัม/ลิตรช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตในการขนส่งปลานิล อย่างไรก็ตาม นักวิจัยระบุว่าไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของเกลือต่อความเครียด สมดุลของเกลือแร่ และความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ
                 หนึ่งในปัญหาคอขวดในการขนส่งปลาคือการเสื่อมคุณภาพน้ำซึ่งเป็นอันตรายต่อปลา ความเครียดที่เกิดจากการขนส่งจะเพิ่มอัตราการเผาผลาญ การใช้ออกซิเจนและการขับแอมโมเนีย ดังนั้นการลดความเครียดระหว่างการขนส่งจึงสามารถลดความเสื่อมของคุณภาพน้ำได้ แม้ว่านักวิจัยจะรายงานว่าการเติมเกลือลงในน้ำไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในแง่ของระดับออกซิเจนและแอมโมเนียที่ละลายในน้ำ
                 อย่างไรก็ตาม การเติมเกลือ 2 หรือ 4 กรัม/ลิตร ลงในน้ำจะลดระดับคอร์ติซอลและ/หรือระดับกลูโคส ซึ่งบ่งชี้ถึงผลในการคลายความเครียด ในทำนองเดียวกัน ผลการศึกษาระบุว่าการเติมเกลือ 4 กรัมต่อลิตรในน้ำสามารถลดความเครียดของปลานิลระหว่างการขนส่งได้
                 เอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระและสารต้านอนุมูลอิสระที่ไม่ใช่เอนไซม์ที่ช่วยปกป้องเซลล์จากผลกระทบของความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่ผลิตโดยสายพันธุ์ออกซิเจนที่เกิดปฏิกิริยาที่ง่าย (Reactive oxygen species; เป็นโมเลกุลที่ไม่เสถียรชนิดหนึ่งที่มีออกซิเจนเป็นส่วนประกอบและทำปฏิกิริยากับโมเลกุลอื่นได้ง่าย ซึ่งการสะสมของโมเลกุลนี้ในเซลล์อาจทำให้ DNA, RNA และโปรตีนเสียหายและอาจทำให้เซลล์ตายได้) และมักจะเพิ่มขึ้นหลังจากการเกิดเหตุการณ์ที่ตึงเครียด
                 โดยทั่วไปพารามิเตอร์ของสารต้านอนุมูลอิสระแสดงให้เห็นว่าการเติมเกลือลงในน้ำสามารถลดสภาวะออกซิเดชันระหว่างการขนส่งปลาได้

ที่มา : https://thefishsite.com/articles/brackish-water-reduces-tilapia-transport-stress  สรุปโดย : มกอช.

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?