หลังจากที่รัฐบาลจีนยุตินโยบายปลอดโควิดและยกเลิกมาตรการกักกันโรคส่วนใหญ่เมื่อต้นเดือนธันวาคม 2565 ส่งผลให้เชื้อไวรัสดังกล่าวระบาดทั่วประเทศ และมีกระแสความต้องการอาหารเสริมกลุ่มโคเอนไซม์ Q10 ในการปกป้องกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ในขณะวงการแพทย์จีนออกโรงเตือนผู้บริโภคเกี่ยวกับสรรพคุณดังกล่าว
CoQ10 เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ทั่วไปในสัตว์และพืช มีบทบาทสำคัญในการเผาผลาญพลังงานของมนุษย์และกิจกรรมป้องกันสารต้านอนุมูลอิสระ โดยกระจายในหัวใจ ตับ ไต และอวัยวะอื่นๆ ที่ใช้พลังงานจำนวนมาก การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ยังพบว่า CoQ10 สามารถสังเคราะห์ได้โดยร่างกายมนุษย์ และเกี่ยวข้องกับการปกป้องสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด ชะลอความชรา และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าร่างกายมนุษย์จะสามารถสังเคราะห์ CoQ10 ได้เองตามธรรมชาติ แต่ความสามารถในการสังเคราะห์จะเข้าสู่จุดสูงสุดเมื่ออายุประมาณ 30 ปี และสามารถได้รับจากการบริโภคอาหารหลายชนิด เช่น ปลา วัว ไก่ เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ถั่ว ผัก ผลไม้ และธัญพืช แต่อาหารเสริม CoQ10 ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นหลังจากการเผยแพร่ข้อมูลสมาคมแพทย์เอกชนแห่งหนึ่งว่าให้รับประทาน CoQ10 100- 300 มก. ต่อวัน เพื่อส่งเสริมภูมิต้านทานต่อโควิด
การกำกับดูแลด้านกฎระเบียบในประเทศจีน
ในประเทศจีน ผลิตภัณฑ์ CoQ10 รวมถึงยาที่เกี่ยวข้องและอาหารเพื่อสุขภาพ (อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ) อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ของ CoQ10 ในตลาดเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ โดยอาหารเพื่อสุขภาพทั้งในประเทศและนำเข้าของจีนจำเป็นต้องจดทะเบียนหรือยื่นต่อ China's State Administration for Market Regulation (SAMR) ก่อนวางตลาด
เนื่องจาก CoQ10 เดิม ไม่ได้อยู่ในสารบบวัตถุดิบอาหารเพื่อสุขภาพผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร CoQ10 ทั้งในประเทศและนำเข้าของจีนจึงสามารถเข้าถึงตลาดได้ผ่านทางการลงทะเบียนผลิตภัณฑ์กับ SAMR ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการยื่นจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ การขึ้นทะเบียนอาจมีอุปสรรคในการเข้าถึงที่สูงกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผลิตภัณฑ์นำเข้า แม้ว่าหลังจาก SAMR เผยแพร่ข้อกำหนดด้านปริมาณและทางเทคนิคสำหรับอาหารเสริม CoQ10 ทำให้ CoQ10 สามารถนำเข้าสู่ตลาดผ่านการยื่นจดทะเบียนผลิตภัณฑ์แทนการขึ้นทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 แต่ด้วยข้อจำกัดอื่นๆ จึงทำให้มีเฉพาะอาหารเสริม CoQ10 ภายในประเทศเท่านั้นที่แจ้งความจำนงยื่นขึ้นทะเบียนได้ และผู้นำเข้าหลายรายเลือกใช้วิธีนำเข้าพิเศษโดยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(e-Commerce) ข้ามพรมแดน (CBEC) ซึ่งจะยกเว้นการขึ้นทะเบียนตามกฎหมาย
การยื่นขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังนี้
ปริมาณบริโภค |
กลุ่มที่เหมาะสม |
กลุ่มที่ไม่เหมาะสม |
คำเตือน |
การกล่าวอ้างทางฟังก์ชัน |
รูปเเบบยา |
30-50 มก |
ผู้ใหญ่ |
เด็ก สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ |
ผู้ที่รับประทานยาควรปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคผลิตภัณฑ์ |
เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สารต้านอนุมูลอิสระ |
ยาเม็ด (ยาเม็ด, ยาอม, ยาเม็ดเคี้ยว), เม็ด, แคปซูลแข็ง, แคปซูลนิ่ม |
ที่มา: Chemlinked สรุปโดย : มกอช.