TH EN
A A A

เกาหลีใต้ปรับเปลี่ยนนโยบายพิธีการศุลกากรนำเข้าอาหาร

26 มกราคม 2566   

               เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2566 เกาหลีใต้ได้ประกาศปรับเปลี่ยนนโยบายพิธีการศุลกากรสำหรับอาหารนำเข้า โดยประกอบด้วยโครงการพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศุลกากร ดังนี้

โครงการ เนื้อหา เวลาดำเนินการ
เพิ่มขอบข่ายอาหารที่จะอำนวยความสะดวกพิธีการศุลกากร นโยบายปัจจุบัน
     อำนวยความสะดวกพิธีการศุลกากรเฉพาะอาหารแปรรูปเพื่อการจำหน่ายที่มาจากผู้นำเข้าประวัติดี
การปรับเปลี่ยน
     วัตถุดิบสำหรับการผลิตอาหารที่ได้รับการยืนยันความปลอดภัย (เครื่องปรุง วัตถุดิบสำหรับการสกัดหรือการแปรรูป ฯลฯ) จะรวมอยู่ในขอบเขตรายการสินค้าที่อำนวยความสะดวกพิธีการศุลกากร
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
     ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีแผนที่จะจัดหาวัตถุดิบอย่างราบรื่นและรักษาเสถียรภาพของราคา โดยสนับสนุนการอำนวยความสะดวกพิธีการศุลกากรของวัตถุดิบ และคาดว่าจะมีอาหารนำเข้าที่ผ่านกระบวนการอำนวยความสะดวกนี้เพิ่มขึ้นจาก 39,000 ตัน เป็น 2,120,000 ตันต่อปี
มิถุนายน 2566
ปรับปรุงขอบเขตการถ่ายโอนภารกิจตรวจสอบนำเข้าให้หน่วยงานเอกชน

นโยบายปัจจุบัน
     (1) การตรวจสอบการนำเข้าสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงและรายการสำคัญที่ต้องตรวจสอบอื่น ๆ จะต้องดำเนินการโดยสำนักงานระดับภูมิภาคของ MFDS สาธารณรัฐเกาหลีเท่านั้น
     (2) สำหรับรายการที่ต้องได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียด เช่น อาหารที่นำเข้าเป็นครั้งแรก สามารถเลือกรับการตรวจสอบโดย MFDS ภูมิภาคหรือสถาบันทดสอบเอกชน
การปรับเปลี่ยน

     (1) เตรียมกำหนดให้รายการสินค้าที่เดิมต้องเข้ารับการตรวจสอบนำเข้าโดย MFDS ระดับภูมิภาคสามารถขยายทางเลือกไปตรวจสอบยังสถาบันทดสอบเอกชนได้
     (2) ถ่ายโอนภารกิจการตรวจสอบอย่างละเอียดให้สถาบันทดสอบเอกชน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     ระยะเวลาการตรวจสอบสั้นลงเหลือ 2-4 วัน ซึ่งสามารถช่วยประหยัดค่าธรรมเนียมการจัดเก็บคลังสินค้าและเร่งการกระจายสินค้า

(1) ธันวาคม 2565
(2) มิถุนายน 2566
แก้ไขเกณฑ์การพิจารณายอมรับ "ผลิตภัณฑ์เดียวกันจากองค์กรเดียว" (ยกเว้นอาหารเพื่อสุขภาพและสารเติมแต่งอาหาร) นโยบายปัจจุบัน
     เกณฑ์ปัจจุบันสำหรับ “ผลิตภัณฑ์เดียวกันจากองค์กรเดียว” คือประเทศผู้ผลิต ผู้ผลิต ชื่อผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต และชื่อวัตถุดิบต้องเป็นชื่อเดียวกัน โดยหากชื่อผลิตภัณฑ์แตกต่างกัน แม้ว่าส่วนผสม ผู้ผลิต และขั้นตอนการผลิตจะเหมือนกัน จะถือว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นคนละผลิตภัณฑ์และต้องผ่านการตรวจสอบอย่างละเอียด
การปรับเปลี่ยน
     ยกเว้นในส่วนของเกณฑ์ชื่อผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันในการประเมิน "ผลิตภัณฑ์เดียวกันจากองค์กรเดียว"
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
     ประหยัดค่าจัดเก็บและค่าตรวจสอบได้
มกราคม 2567
การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในการใช้วัตถุดิบนำเข้า นโยบายปัจจุบัน
     (1) แนวทางการอนุญาตให้สามารถเปลี่ยนวัตถุประสงค์การใช้งานของวัตถุดิบนำเข้าที่แจ้งว่าจะใช้ในการผลิตมีอยู่อย่างจำกัด
     (2) ห้ามไม่ให้เปลี่ยนวัตถุประสงค์ของวัตถุดิบที่ขอนำเข้าเพื่อวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
การปรับเปลี่ยน
     (1) ผู้ผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ และผู้จัดจำหน่าย สามารถยื่นขอเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้งานของ “วัตถุดิบนำเข้าสำหรับผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร” ได้
     (2) สามารถขอเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้งานของ "วัตถุดิบนำเข้าที่มีวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ" ได้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
     สามารถปรับปรุงการขออนุญาตใช้วัตถุดิบอาหารและลดปัญหาอาหาร/วัตถุดิบอาหารเหลือทิ้ง
ธันวาคม 2566
การสร้างกลไกจูงใจผู้นำเข้าอาหาร นโยบายปัจจุบัน
     แบ่งระดับชั้นของผู้นำเข้าออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ "ดี" "ทั่วไป" และ "พิเศษ" โดยสัดส่วนของผู้นำเข้าระดับทั่วไป คิดเป็น 99.5%
การปรับเปลี่ยน
     “ผู้นำเข้าระดับทั่วไป” แบ่งออกเพิ่มเติมเป็นสามระดับ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
     กระตุ้นการพัฒนาขีดความสามารถของผู้นำเข้า
ธันวาคม 2566

ที่มา : MFDS   สรุปโดย : มกอช.

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?