นักวิจัยของสถาบัน Pirbright ได้ค้นพบความแตกต่างที่สำคัญในการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของไก่ที่ต้านทานต่อโรคมาเร็กซ์ (Marek’ disease) และไก่ที่อ่อนไหวต่อโรค จากบทความล่าสุดใน Frontiers In Immunology เกี่ยวกับกลไกการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันแบบปรับตัว (adaptive immunity) ชนิด T-cells ในไก่ที่ต้านทานต่อโรคมาเร็กซ์จะสร้างสารกลุ่มไซโตไคน์ IL-2 และ IL-4 มากกว่าเซลล์ของไก่ที่อ่อนไหวต่อโรค และยังพบการสร้าง granzyme B และ perforin ซึ่งเป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าเซลล์ที่ติดเชื้อในระดับที่สูงกว่าด้วย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่พบความเชื่อมโยงในการยับยั้งการทำงานของ T-cells ของไก่ที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อน และอาจมีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อของวัคซีนด้วย
หัวหน้ากลุ่มภูมิคุ้มกันวิทยาในสัตว์ปีก สถาบัน Pirbright กล่าวว่า “ การทำความเข้าใจถึงหน้าที่ที่แตกต่างกันของปฏิกิริยา T cells ในไก่ที่มีความว่องไวต่อโรคมาเร็กซ์ที่แตกต่างกัน อาจนำไปสู่การพัฒนาวัคซีนใหม่ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจช่วยยับยั้งการจำลองและการแพร่ระบาดของไวรัสได้”
ที่มา : The Poultry Site สรุปโดย : มกอช.