TH EN
A A A

ตูนิเซียหนัก! ภัยแล้งคุกคามความมั่นคงอาหาร

19 มกราคม 2566   

                ภัยแล้งนาน 3 ปีทำให้อ่างเก็บน้ำ (Sidi El Barrak) สำคัญในประเทศตูนิเซียสูญเสียปริมาณน้ำสำรองเป็นอย่างมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูกพืชและน้ำใช้ในครัวเรือน โดยตั้งแต่เดือนกันยายน 2565 เป็นต้นมา มีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่าปริมาณฝนตกทั่วประเทศยังน้อยกว่าปกติถึงร้อยละ 80 หรือไม่ถึง 110 ล้านลูกบาศก์เมตร
                สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงทั่วภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมาส่งผลต่อปริมาณฝนในประเทศชายฝั่ง โดยเฉพาะภูมิภาคแอฟริกาเหนือ เช่น โมร็อกโก และตูนิเซีย ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่อการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญ เช่น มะกอก ข้าวสาลี ซ้ำเติมสถานะทางเศรษฐกิจและอำนาจการต่อรองในการซื้อขายปัจจัยการผลิตจากทั่วโลกของประเทศให้ย่ำแย่ลง
                ก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้เรียกร้องให้เกษตรกรหยุดการใช้น้ำชลประทานในการปลูกพืช และจัดลำดับความสำคัญในการผลิต ตามด้วยการขึ้นราคาน้ำใช้ซึ่งส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 10 ซึ่งตูนิเซียกำลังเร่งแก้ไขโดยเตรียมการศึกษาการสร้างเขื่อนใหม่และโรงกลั่นน้ำทะเลเพื่อการพัฒนาระหว่างปี 2566-2568

ที่มา : Reuters   สรุปโดย : มกอช.

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?