แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นในภาคปศุสัตว์ในการลดระดับก๊าซมีเทนจากปศุสัตว์ ทำให้มีการศึกษาแนวทางใช้อาหารสัตว์ทดแทนที่มีประสิทธิภาพและลดการปลดปล่อยก๊าซที่ส่งผลต่อภาวะเรือนกระจก โดยล่าสุดบริษัทผู้ผลิตโคเนื้อในไอร์แลนด์ ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์เนื้อสเต็กที่ได้จากวัวที่บริโภคสาหร่ายสีแดง " Asparagopsis taxiformis " เป็นอาหาร อย่างไรก็ตามมีข้อกังวลจาก University College Dublin และ University of Galway พบว่าการเสริมอาหารด้วยสาหร่ายทะเลนี้อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการสะสมของสารโบรโมฟอร์ม (bromoform) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง จึงมีการหันเป้าหมายงานวิจัยไปสู่การใช้สาหร่ายสีน้ำตาลและสีเขียวประกอบด้วย Pelvetia canaliculate Cystoseira tamariscifolia (CYT), Bifucaria bifurcata (BIB); Fucus vesiculosis (FUV), Himanthalia elongate (HIM) และ Ulva intestinalis (ULI) Ascophyllum nodosum (ASC) โดยการผสมสาหร่ายที่ความเข้มข้น 10 กรัม/กิโลกรัมน้ำหนักแห้ง ในอาหารควบคุมที่อัตราส่วนร้อยละ 50 โดยน้ำหนัก ซึ่งพบว่าไม่ส่งผลกระทบต่อปริมาณการปลดปล่อยก๊าซมีเทนสัมบูรณ์หรือลักษณะการหมักอาหารในลำไส้โคเนื้อ โดยสรุปแล้วนักวิจัยพบว่าการใช้สาหร่ายสีน้ำตาลและสีเขียวไม่มีผลเสียต่อการย่อยอาหารหรือรูปแบบการหมัก แต่ไม่สามารถลดการผลิตของมีเทนในลำไส้ได้ ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาสูตรอาหารที่เหมาะสมในเชิงเศรษฐศาสตร์และสิ่งแวดล้อมต่อไป
ที่มา : Allaboutfeed สรุปโดย : มกอช.