สหภาพยุโรปได้ให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรหรือ GSP แก่ประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งไทยมาตั้งแต่ปี 2541 โดยลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีนำเข้าให้กับสินค้า GSP ที่แหล่งกำเนิดสินค้าในประเทศผู้รับสิทธินั้น โดยจะต้องเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นโดยใช้วัตถุดิบที่เกิดขึ้นประเทศทั้งหมด (Wholly obtained) หรือหากเป็นสินค้าที่ต้องใช้วัตถุดิบหรือส่วนประกอบที่นำเข้าจากต่างประเทศ ต้องมีการผลิตที่ถือว่ามีการแปรสภาพอย่างพอเพียง (subataintial transfirmation) ซึ่งกำหนดไว้เป็นรายสินค้า กฎดังกล่าวนี้มีความซับซ้อนและยากต่อการปฏิบัติทำให้ประเทศผู้รับสิทธิมีการใช้สิทธิไม่เต็มที่
ปี 2548 สหภาพยุโรปจัดทำสมุดปกเขียวกำหนดแนวทางการจัดทำกฎแหล่งกำเนิดสินค้าใหม่สำหรับระบบ GSP เพื่อให้ง่ายในการปฏิบัติโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยใช้กฎเดียวกันกับทุกสินค้าที่ไม่ใช่ Wholly obtained บนฐานการพิจารณาจากมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นในประเทศผู้รับสิทธิ
สาระสำคัญของร่างกฎใหม่
มีการปรับเปลี่ยนที่สำคัญ คือ การใช้มูลค่าเพิ่มเป็นฐานในการพิจารณาแหล่งกำเนิดสินค้า โดยกำหนดมูลคาเพิ่มที่ 30% ของราคาสินค้า (ex work price) ยกเว้นสินค้าบางรายการที่กำหนดมูลค่าเพมสูงกว่านี้ เช่น สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม กำหนดที่ 50-60% (ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา) หรือบางสินค้ากำหนดหลักเกณฑ์เฉพาะ เช่น สินค้าปลาปรุงแต่งพิกัด 1604 กำหนดให้สามารถนำเข้าวัตถุดิบภายใต้พิกัด 03 ได้ไม่เกิน 15% ของราคาสินค้า
ยังคงมีการใช้กฎแหล่งกำเนิดสินค้าแบบสะสม
ยังคงกำหนดขั้นตอนการผลิตที่กำหนดว่าไม่เพียงพอต่อการแปรสภาพจะไม่ถือว่าได้แหล่งกำเนิดสินค้าของประเทศผู้รับสิทธิ
จเริ่มใช้ตั้งแต้วันที่ 1 มกราคม 2552 พร้อมโครงการ GSP ช่วงต่อไป (2552-2554)
ขณะนี้อยู่ระหว่างหารือกับประเทศสมาชิกและเปิดรับฟังความเห็นจากประเทศผู้รับสิทธิ คาดว่าจะสามารถผ่านร่างระบียบได้เดือนกรกฎาคม
ที่มา : สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลล์