TH EN
A A A

ญี่ปุ่นปรับปรุงแบบใบรับรองสุขอนามัยพืช (Phytosanitary Certificate)

20 ตุลาคม 2565   

                พืชที่นำเข้าและผลิตภัณฑ์จากพืชที่นำเข้าสู่ญี่ปุ่น จะต้องมาพร้อมกับใบรับรองสุขอนามัยพืชที่ออกโดยประเทศผู้ส่งออกอย่างเป็นทางการและอยู่ภายใต้การตรวจสอบการนำเข้าโดยประเทศญี่ปุ่น โดยข้อกำหนดด้านใบรับรองสุขอนามัยพืชที่เข้มงวดสำหรับพืชนำเข้าและผลิตภัณฑ์จากพืชที่นำเข้ามาอย่างเป็นทางการจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 สิงหาคม 2566 ครอบคลุมสินค้าและผลิตภัณฑ์ "พืชเพื่อการเพาะปลูก" "พืชสดเพื่อการบริโภค" "ธัญพืชและถั่ว" "ไม้ "," วัสดุที่ใช้สำหรับปุ๋ย อาหารสัตว์ วัสดุการผลิตทางการเกษตรและป่าไม้" และ "พืชแห้ง เช่น ดอกไม้เเห้ง  เครื่องเทศ และยาสมุนไพร" เป็นต้น
                รายชื่อพืชนำเข้าและผลิตภัณฑ์จากพืชที่นำเข้าในปัจจุบันซึ่งต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชจะมีการปรับปรุงเพิ่มเติมในระยะเวลาอันใกล้ โดยทั้งนี้มีเงื่อนไขเบื้องต้นประกอบด้วย
     • ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีใบรับรองสุขอนามัยพืชเมื่อจำเป็นจะถูกกำจัดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพืช
     • ผลิตภัณฑ์ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช  ไม่สามารถนำเข้าได้แม้ว่าจะแนบใบรับรองสุขอนามัยพืชก็ตาม
     • ในกรณีที่ต้องมีการตรวจสอบแหล่งกำเนิดและการทดสอบในห้องปฏิบัติการที่แม่นยำในประเทศผู้ส่งออก ให้ระบุในข้อความแนบของใบรับรองสุขอนามัยพืชว่ามีการตรวจสอบและทดสอบที่เกี่ยวข้องแล้ว
     • สินค้านำเข้าที่ไม่มีใบรับรองสุขอนามัยพืช แม้ว่าจะมาพร้อมกับใบรับรองอื่นๆ เช่น ใบรับรองสุขภาพ ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า และ CITES ก็ตาม ก็จะถูกทำลายไปด้วย
     • นอกเหนือจากใบรับรองการตรวจสอบ หากเจ้าหน้าที่คุ้มครองพืชเห็นว่าจำเป็น อาจขอแนบใบกำกับสินค้า B/L (Bill of Lading) รายการ AWB (Air Way Bill)

อ้างอิง : https://www.maff.go.jp/pps/j/information/shomeisho/shomeisho2.html  สรุปโดย : มกอช.

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?