TH EN
A A A

FAO และ WHO ถกความปลอดภัยสาหร่ายใช้เป็นอาหาร

19 ตุลาคม 2565   

               องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization: FAO) และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) กล่าวว่ามีความจำเป็นสำหรับการประเมินความเสี่ยงของอันตรายด้านสุขอนามัยจากการใช้สาหร่ายเป็นอาหาร ทั้งที่ได้จากการเก็บเกี่ยวตามธรรมชาติและเพาะเลี้ยง โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงได้แก่ ชนิด ฤดูกาลในการผลิต คุณภาพน้ำ วิธีการเก็บเกี่ยวและการแปรรูป และอาจมีอันตรายที่พบได้ เช่น โลหะหนักและสารพิษจากทะเล ในขณะที่ยังไม่มีคำแนะนำและข้อกำหนดทางกฎหมายสำหรับการใช้ประโยชน์โดยทั่วไปอย่างชัดเจน
               แม้ว่าการเสียชีวิตที่เชื่อมโยงกับการบริโภคสาหร่ายจะมีน้อยมาก แต่ข้อมูลที่จำกัดชี้ว่าอันตรายบางอย่างอาจก่อให้เกิดความกังวลด้านความปลอดภัยของอาหารในระดับปานกลางถึงเล็กน้อย รวมถึงอันตรายทางเคมี เช่น โลหะหนัก เช่น สารหนูอนินทรีย์และแคดเมียม สารมลพิษอินทรีย์ที่ตกค้างยาวนาน เช่น ไดออกซินและโพลีคลอริเนต ไบฟีนิล นิวไคลด์กัมมันตภาพรังสี และสารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง อันตรายทางจุลชีววิทยา ได้แก่ ซัลโมเนลลา บาซิลลัส และโนโรไวรัส อันตรายทางกายภาพ เช่น โลหะ แก้ว เปลือกครัสเตเชียน ไมโครและนาโนพลาสติก และสารก่อภูมิแพ้
               การประชุมผู้เชี่ยวชาญของ FAO-WHO เกี่ยวกับความปลอดภัยของสาหร่ายทะเลเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ได้ข้อเสนอแนะหลายประการ ซึ่งรวมถึงการรวบรวมและประเมินข้อมูลการบริโภคสาหร่ายในระดับประเทศและระดับภูมิภาค และติดตามตรวจสอบอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เพื่อวิเคราะห์อันตราย อนึ่ง ปัจจุบันในประเทศจีนมีข้อจำกัดด้านกฎระเบียบสำหรับแคดเมียม และฝรั่งเศสมีระดับสูงสุดของสารหนูอนินทรีย์ แคดเมียม ตะกั่ว และปรอทในสาหร่ายที่บริโภคได้ แต่ก็ไม่ได้มีการระบุข้อกำหนดเฉพาะหรือรายละเอียดไว้โดยชัดเจน

ที่มา: Food Safety News  สรุปโดย : มกอช.

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?