TH EN
A A A

สิงคโปร์ขอความเห็นปรับกฎหมายสูตรอาหารระยะแรก

4 ตุลาคม 2565   

                ตามที่เปิดเผยโดยหนังสือเวียน SFA ที่ออกเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565 ร่างประกาศปรับปรุงกฎหมายอาหารได้รับการอนุมัติและการแก้ไขจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 3 ต.ค. 2565 ผู้ประกอบการด้านอาหารควรรับผิดชอบต่อความถูกต้องของฉลากและการปฏิบัติตามข้อกำหนด
                ในช่วงกลางเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 สำนักงานกำกับดูแลอาหารแห่งสิงคโปร์ (Singapore Food Agency: SFA) ได้ประกาศให้มีการแก้ไขข้อบังคับด้านอาหาร ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ โดยอยู่ระหว่างเปิดรับฟังความเห็นสาธารณชนประกอบการปรับปรุงร่างกฎหมาย
                SFA เสนอให้ลบมาตรฐานเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์อาหารในระเบียบ 39 ถึง 260 ของข้อบังคับด้านอาหาร ยกเว้นข้อกำหนดที่ยังคงเป็นไปตามข้อกำหนดหรือเหตุผลด้านความปลอดภัยของอาหาร หรือเพื่อสนับสนุนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุข โดยดำเนินการเป็นสองระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 ที่คาดว่าจะบังคับใช้ภายในปี 2565
                ยกเลิกข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์อาหาร 59 รายการ เช่น แป้งที่เพิ่มโปรตีน แป้งข้าวโพด แป้งข้าวเจ้า แป้งมัน ขนมปังผลไม้ ขนมปังข้าวไร ขนมปังนม กะปิ เนื้อหรือก๋วยจั๊บ ปลากะพง ลูกชิ้นปลา น้ำมันมะพร้าว น้ำมันข้าวโพด
                ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://docs.wto.org/dol2fe/Pages/SS/directdoc.aspx?filename=q:/G/TBTN21/SGP64.pdf&Open=True ระยะที่ 2 คาดว่าจะบังคับใช้ได้ในปี 2566
                จัดระบบหมวดหมู่อาหารและยกเลิกข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของรายการอาหารอื่นๆ โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตอาหารต้องผ่านขั้นตอนรับรองความปลอดภัยของอาหารและอุตสาหกรรมโดยเป็นไปตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                • มาตรฐานสินค้าโภคภัณฑ์ ของ Codex Alimentarius Commission
                • มาตรฐานระดับประเทศและมาตรฐานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในสิงคโปร์
                • มาตรฐานคุณลักษณะเฉพาะสำหรับประเทศต้นทาง (หากเป็นสินค้านำเข้าสิงคโปร์) หรือปลายทาง (หากเป็นสินค้าส่งออก)
                สามารถศึกษาฉบับร่างเต็มได้ที่: https://www.sfa.gov.sg/docs/default-source/legislation/sale-of-food-act/consultation-on-draft-food-(amendment-no-x)-regulations-2022---standards-of-identity.pdf 

ที่มา : SFA/Chemlinked   สรุปโดย : มกอช.

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?