มหาวิทยาลัย Suez ประเทศอียิปต์ สรุปงานวิจัยการใช้แป้งสาลีเป็นคาร์โบไฮเดรตและคาร์บอนในระบบการเพาะเลี้ยงกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) แบบ biofloc ซึ่งพบว่ามีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้กากน้ำตาล เมื่อพิจารณาจากทั้งผลการใช้อาหารสัตว์ (Feed Conversion) อัตราการรอด องค์ประกอบของตะกอนจุลินทรีย์ องค์ประกอบของร่างกาย และการเจริญเติบโต หลังจากทดลองใช้แหล่งคาร์บอนต่างๆ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาจุลินทรีย์ในระบบ biofloc รวมถึงกากน้ำตาล กลีเซอรอล และกลูโคส
การเสริมคาร์โบไฮเดรตในระบบการเลี้ยงแบบตะกอนหมุนเวียน biofloc ส่งเสริมการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรีย heterotrophic เพิ่มจำนวนและปรับสมดุลระดับไนโตรเจนในน้ำ เพิ่มความเข้มข้นของออกซิเจนละลายน้ำ ทำให้ผู้ผลิตสามารถรักษาคุณภาพน้ำไว้ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนน้ำ และยังทำให้ผลผลิตกุ้งที่ได้มีคุณภาพดีขึ้น
ที่มา : The Fish Site สรุปโดย : มกอช.