TH EN
A A A

ฟ้าขาวกลัวข้าวสาลี GMO สวนทางข้าวโพด-ถั่วเหลือง

23 กันยายน 2565   

                 สำนักข่าวรอยเตอร์เผยแพร่ข้อสังเกตว่าผู้บริโภคในผู้ผลิตพืชอาหารรายใหญ่หลายแห่ง เช่น อาร์เจนตินา มีความกังวลต่อการปลูกและจำหน่ายข้าวสาลีดัดแปรพันธุกรรม  (GMO) ในขณะที่ผลผลิตข้าวโพดและถั่วเหลืองที่เป็นสินค้าส่งออกสำคัญส่วนใหญ่กลับเป็นพืชผล GMO แม้ว่าจะมีวัตถุประสงค์ในการใช้หลักต่างกัน กล่าวคือ ข้าวโพดและถั่วเหลืองถูกใช้เป็นอาหารสัตว์ เชื้อเพลิงชีวภาพ และวัตถุดิบสำหรับแปรสภาพ ในขณะที่ข้าวสาลีจำนวนมากถูกใช้เพื่อการบริโภคของมนุษย์
                 ปัจจุบันข้าวสาลีดัดแปลงพันธุกรรมไม่เคยมีการปลูกเพื่อการค้า เนื่องจากผู้บริโภคกลัวว่าจะมีสารก่อภูมิแพ้หรือสารพิษที่อาจปรากฏในวัตถุดิบหลักที่ใช้ทั่วโลกสำหรับขนมปัง พาสต้า และขนมอบ ท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับปัญหาความมั่นคงอาหารโลกที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและวิกฤติยูเครน-รัสเซีย และแม้ว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ เช่น บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพของอาร์เจนตินากำลังพัฒนาข้าวสาลีดัดแปรพันธุกรรมเพื่อให้ทนต่อความแห้งแล้งอยู่ก็ตาม
                 ทั้งนี้ ทัศนคติต่อการซื้อและบริโภคพืชดัดแปรพันธุกรรมมีความแตกต่างกันทั่วโลก เช่น ในประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้ซื้อถั่วเหลืองและข้าวโพดรายใหญ่ของโลก อนุญาตให้พืชดัดแปรพันธุกรรมที่ใช้เป็นอาหารสัตว์สามารถนำเข้าได้ แต่ในส่วนของการเพาะปลูกในประเทศมีความเคลื่อนไหวที่ช้ากว่ามาก ในขณะที่เยอรมนี นำเข้าถั่วเหลือง GMO แต่ไม่อนุญาตการปลูกในประเทศ ส่วนออสเตรเลีย ที่ส่งออกฝ้ายและคาโนลา GMO อนุญาตข้าวสาลี GMO สามารถนำเข้ามาเพื่อการบริโภค ในขณะที่เม็กซิโกมีแนวโน้มจะระงับการผลิตพันธุ์พืช GMO แต่อาจอยู่ระหว่างการพิจารณาในส่วนของเทคโนโลยีชีวภาพใหม่

ที่มา : The Cattle Site, Reuters  สรุปโดย : มกอช.

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?