นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ (University of Maryland, UM) ของสหรัฐอเมริกาได้ทำการวิจัยและสร้าง “Zinc battery” ที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยอิเล็กโทรไลต์ที่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้จากกระดองปู โดยใช้สารไคโตซาน (Chitosan) ที่สกัดได้จากไคติน (Chitin) จากเปลือกและกระดองของสัตว์กลุ่มสัตว์น้ำเปลือกเเข็ง(ครัสเตเชียน: Crustaceans เช่น กุ้ง กั้ง ปู) ซึ่งส่วนประกอบ 2 ใน 3 ของ Zinc Battery ดังกล่าวสามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้โดยจุลินทรีย์ภายในระยะเวลา 5 เดือน และจะเหลือทิ้งไว้เพียงส่วนประกอบที่เป็นเศษโลหะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Recycle) นอกจากนี้ยังพบว่าประสิทธิภาพหลังรอบการใช้งานแบตเตอรี่ 1,000 รอบ ยังคงมีประสิทธิภาพการการใช้งานกว่า 99.7% ทีมนักวิจัยหวังไว้เป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถพัฒนาและผลิตแบตเตอรี่ที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น อีกทั้งยังหวังว่าในอนาคตจะสามารถพัฒนาให้ส่วนประกอบของแบตเตอรี่ทั้งหมดสามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้
ที่มา: The Fish Site สรุปโดย: มกอช.