TH EN
A A A

รายงานชี้อาหารทะเลตอบโจทย์ปัญหาเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

16 กันยายน 2565    54 ครั้ง

                “อาหารทะเลที่ยั่งยืนสามารถให้คุณค่าทางโภชนาการมากกว่าเนื้อวัว เนื้อหมู และไก่ ในขณะที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” จากรายงานที่ตีพิมพ์ใน Communications Earth & Environment ซึ่งเสนอให้ส่งเสริมการบริโภคอาหารทะเลแทนโปรตีนจากสัตว์อื่นๆ เพื่อยกระดับความมั่นคงด้านอาหารและช่วยลดปัญหาโลกร้อน

                Peter Tyedmers, Elinor Hallström และคณะ เห็นว่าอาหารทะเลเป็นแหล่งโปรตีน กรดไขมัน วิตามินและแร่ธาตุที่ดี และการวิจัยก่อนหน้านี้ยังแสดงประโยชน์ในทิศทางเดียวกันจากการแทนที่เนื้อสัตว์ด้วยอาหารทะเลในมื้ออาหาร อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอาหารในอนาคตมักจะส่งเสริมอาหาร "สีเขียว" ที่เน้นพืชเป็นหลัก และได้มองข้ามศักยภาพของอาหาร "สีน้ำเงิน" ที่ทำจากอาหารทะเล

                 ผลวิเคราะห์ความหนาแน่นของสารอาหารและผลกระทบต่อสภาพอากาศของแหล่งอาหารทะเลที่จับได้ตามธรรมชาติและที่สำคัญทั่วโลกของอาหารทะเลจากแหล่งประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในวงกว้างในปี 2558พวกเขาพบว่าปลาแซลมอนที่จับจากธรรมชาติ ปลาแฮร์ริ่ง ปลาแมคเคอเรล และปลาแอนโชวี่ เช่นเดียวกับหอยแมลงภู่และหอยนางรมที่เลี้ยงในฟาร์ม มีผลกระทบต่อสภาพอากาศต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับคุณค่าทางโภชนาการ โดยอาหารทะเลครึ่งหนึ่งที่วิเคราะห์มีความหนาแน่นของสารอาหารสูงกว่า และปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่น้อยกว่าเนื้อวัว เนื้อหมู และไก่ อย่างไรก็ตาม ด้วยความแตกต่างในการผลิตและวิธีการเก็บเกี่ยวพบว่าทำให้เกิดความแปรปรวนของผลกระทบต่อภูมิอากาศ และอุตสาหกรรมการประมงควรใช้เทคโนโลยีการประมงที่ประหยัดเชื้อเพลิงและปล่อยให้เกิดการฟื้นฟูประชากรโดยธรรมชาติ ในขณะที่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควรผลิตปลาและหอยที่ไม่ต้องให้อาหารมากขึ้น

                  อนึ่ง แม้ว่างานวิจัยนี้จะมุ่งเน้นไปที่การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไม่ใช่ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อระบบนิเวศ แต่ผลการวิจัยได้เน้นย้ำถึงความเป็นไปได้ที่อาหารทะเลจะเป็นแหล่งอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างยั่งยืน

ที่มา: https://doi.org/10.1038/s43247-022-00516-4 สรุปโดย : มกอช.

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?