TH EN
A A A

EU ออกข้อกำหนดเสริมในการตรวจสอบควบคุมสารปนเปื้อนในอาหาร

12 กรกฎาคม 2565   

               คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศ Commission Delegated Regulation (EU) 2022/931 ว่าด้วย ข้อกำหนดเสริมในการตรวจสอบควบคุมสารปนเปื้อน (contaminants) ในอาหาร โดยมีรายละเอียดดังนี้
                1. กำหนดบัญชีรายชื่อสินค้าอาหาร และสารปนเปื้อนที่ประเทศสมาชิกต้องทำการสุ่มตรวจในสินค้าอาหารที่วางจำหน่ายในสหภาพยุโรป ภายใต้แผนควบคุมระดับชาติหลายปี (Multi-Annual National Control Plan : MANCP) ตามภาคนวก I (Annex I) ดังนี้
    (ก) สินค้าอาหารกลุ่มเสี่ยงที่ต้องทำการสุ่มตรวจสารปนเปื้อน ได้แก่
     - เนื้อวัว เนื้อแกะ และเนื้อแพะที่ไม่ได้แปรรูป เนื้อสุกรที่ไม่ได้แปรรูป เนื้อม้าที่ไม่ได้แปรรูป เนื้อสัตว์ปีกที่ไม่ได้แปรรูป เนื้อสัตว์บกจากฟาร์มเลี้ยงที่ไม่ได้แปรรูป ทั้งนี้ รวมถึงเครื่องในที่บริโภคได้ของสัตว์เหล่านี้
     - นมดิบ จากวัว แพะ และแกะ
     - ไข่ไก่สดและไข่อื่นๆ
     - น้ำผึ้ง
     - สินค้าประมงที่ไม่ได้แปรรูป (ยกเว้นครัชเตเชียน)
     - ครัชเตเชียน และมอลลัสก์สองฝา
     - ไขมันและน้ำมันจากสัตว์และทะเล
     - สินค้าแปรรูปที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์
    (ข) ประเภทของสารปนเปื้อนที่ต้องทำการสุ่มตรวจ ได้แก่
     - สารมลพิษที่ตกค้างยาวนานที่มีสารประกอบอินทรีย์ของธาตุฮาโลเจน (halogenated persistent organic pollutants) โลหะ (metals) ไมโคทอกซิน (mycotoxins) และสารปนเปื้อนอื่นๆ (other contaminants)
                2. เกณฑ์การสุ่มตัวอย่าง ระบุในภาคผนวก II (ANNEX II) ตามเอกสาร
                3. กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2565) และให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป  
                 ทั้งนี้ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมของกฎระเบียบดังกล่าวได้ที่: https://agrithai.be/regulation/สหภาพยุโรปออกข้อกำหนด/ หรือ https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32022R0931&from=EN

ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป สรุปโดย : มกอช.

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?