นักวิทยาศาสตร์จาก FDA ร่วมมือกับบริการวิจัยการเกษตรแห่งกระทรวงเกษตรสหรัฐ (USDA ARS) เพื่อศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ต่อการเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย E. coli ในผักคอสหรือผักกาดโรเมน เนื่องจากผักใบเขียว รวมทั้งผักคอส มักเป็นแหล่งปนเปื้อนแบคทีเรียกลุ่ม Shiga-toxin producing E. coli (STEC) หรือเชื้อ E. coli ที่สร้างสารพิษ Shiga toxin ได้ โดย E. coli O157:H7 ถือเป็นเชื้อที่พบการระบาดมากที่สุดในกลุ่ม และนำไปสู่อุบัติการณ์ของโรคอาหารเป็นพิษที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า
การศึกษานี้ได้ใช้ผักคอส 2 ชนิด ที่มีอายุการเก็บรักษาต่างกัน ผักเหล่านี้ได้รับการปลูกในเมือง Salinas แห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งถูกเก็บเกี่ยว เติมเชื้อ E. coli O157:H7 และถูกบรรจุแบบดัดแปรบรรยากาศ (modified atmosphere packaging : MAP) ก่อนจะนำไปเก็บรักษา ณ อุณหภูมิต่างกัน
จากการศึกษา พบว่า ณ อุณหภูมิต่ำ ผักคอสที่เก็บเกี่ยวในช่วงฤดูใบไม้ร่วงมีระดับเชื้อ E. coli O157:H7 รอดชีวิตมากกว่าผักคอสที่เก็บเกี่ยวในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และพบว่า ฤดูที่เก็บเกี่ยวและระดับการเน่าเสียของผักคอส จากระยะเวลาการเก็บรักษาที่ต่างกัน มีผลต่อชนิดของแบคทีเรียที่เจริญเติบโต โดยชนิดแบคทีเรียจะถูกจำแนกด้วยวิธี genomic sequencing หรือ การถอดรหัสพันธุกรรมจุลินทรีย์
การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเจริญเติบโตของ E. coli O157:H7 ระหว่างการเก็บรักษา ณ อุณหภูมิต่ำ ซึ่งมีความสำคัญต่อการกำหนดแผนปฏิบัติการ Leafy Greens STEC Action Plan เพื่อแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนของเชื้อ และช่วยให้ FDA และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถลดอุบัติการณ์ของการเจ็บป่วยจากการปนเปื้อนในผักใบเขียวต่อไป
ที่มา : Food Law Lastest สรุปโดย : มกอช.