TH EN
A A A

EU เสนอร่างกฎหมาย “EU Directive on Corporate Sustainability Due Diligence"

8 เมษายน 2565   

                เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 คณะกรรมาธิการยุโรปได้เผยแพร่ร่างกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจสอบห่วงโซ่อุปทานด้านความยั่งยืนของสหภาพยุโรป (EU Directive on Corporate Sustainability Due Diligence) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและเพื่อให้ธุรกิจรับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนและความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมตลห่วงโซ่อุปทาน สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

     1. บริษัทที่อยู่ภายใต้การบังคับใช้ (ยกเว้น บริษัท SMEs) คือ บริษัทขนาดใหญ่ ทั้งบริษัทสัญชาติ EUบริษัทต่างชาติที่ทำธุรกิจใน EU รวมถึงบริษัทแม่ บริษัทสาขา และบริษัทที่เป็นผู้จัดหา (suppliers) ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทที่เข้าข่าย จะต้องตรวจสอบห่วงโซ่อุปทานของตนว่ามีการละเมิดอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมตามที่ระบุในภาคผนวกร่างกฎหมายหรือไม่ โดยร่างกฎหมายได้กำหนดบทลงโทษทั้งทางปกครองและทางแพ่ง 

     2. จัดทำ Due Diligence หรือการสอบทานธุรกิจด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม ที่ประกอบด้วย นโยบาย Due Diligence , Code of Conduct สำหรับพนักงาน บริษัทสาขา และ suppliers การป้องกัน บรรเทา หรือแก้ไขผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม ช่องทางยื่นข้อร้องเรียนต่อบริษัท การประเมินติดตาม และรายงานผล รวมถึงจัดทำClimate Due Diligence ที่มุ่งจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ตามความตกลงปารีส (Paris Agreement)

     3. หากไม่สามารถแก้ไขผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นได้ บริษัทจะต้องยุติการทำธุรกิจกับผู้จัดหานั้นๆ

                ทั้งนี้ บริษัทไทยที่อาจได้รับผลกระทบจากร่างกฎหมายนี้ คือ บริษัทที่เป็นผู้จัดหาให้กับบริษัทที่เข้าข่าย หรือบริษัทที่ลงทุนใน EU และมีคุณสมบัติเข้าข่าย ดังนั้น จะต้องเตรียมการปฏิบัติให้เป็นไปตาม Due Diligence เพื่อลดความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ 

(รายละเอียดเพิ่มเติม: https://ec.europa.eu/commission/presscorner/detail/en/ip_22_1145)

ที่มา: European Commission (EC) สรุปโดย มกอช.

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?