TH EN
A A A

Canada - US ขอความเห็นและอัพเดตรายการ MRL!

21 มีนาคม 2565   

               แคนาดา: เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 หน่วยงานกำกับดูแลการจัดการศัตรูพืชของแคนาดา (Health Canada's Pest Management Regulatory Agency: PMRA) ได้ออกประกาศขอรับความเห็นจากสาธารณะเกี่ยวกับการเสนอขีดจำกัดสารตกค้างสูงสุด (Maximum Residue Limit: MRLs) ของสารกำจัดศัตรูพืช pyraziflumid  โดยทางการแคนาดาเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นได้เป็นเวลา 75 วัน มีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้:
     - ค่า MRL ที่เสนอนี้ จะใช้สำหรับสารกำจัดศัตรูพืช pyraziflumid ในผลผลิตทางการเกษตร เช่น Bushberries, Caneberries, Stone fruits, Pome fruits, Tree nuts หรือ Nuts, ลูกเกด (Raisins), ผลไม้แบบเถาที่มีผลขนาดเล็ก (Small fruits vine climbing) ยกเว้น กีวีฟรุต  (fuzzy kiwifruit)  
     - ค่า MRL ของ pyraziflumid ที่มีการเสนอแล้ว เช่น กลุ่ม Bushberries อยู่ที่ 6.0 ppm กลุ่ม Caneberries อยู่ที่ 4.0 ppm Stone fruits อยู่ที่ 2.0 ppm Pome fruits อยู่ที่ 0.4 ppm และกลุ่ม Nuts อยู่ที่ 0.3 ppm เป็นต้น
     -  จากข้อมูลการศึกษาจากการสัมผัสของมนุษย์พบว่ามีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับระดับที่ยอมรับได้ ดังนั้นค่า MRL ที่เสนอขึ้นใหม่นี้ปลอดภัยต่อการใช้งานและไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้บริโภค
                รายละเอียดเพิ่มเติมศึกษาได้ที่: https://bit.ly/3wbmzZf
                สหรัฐฯ: เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 สำนักคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐฯ (EPA) ได้บังคับใช้และเผยแพร่ระเบียบเกี่ยวกับการกำหนดค่าปริมาณการตกค้างสูงสุดสำหรับสารกำจัดศัตรูพืช Ipflufenoquin ในถั่วและผลไม้ ตาม 40 CFR 180.719 มีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้:
     - กำหนดค่า MRL ที่ยอมรับได้ของสารกำจัดศัตรูพืช Ipflufenoquin บนเมล็ดอัลมอนด์ (Almond) อยู่ที่ 0.01 ppm เปลือกอัลมอนด์ (Almond hulls) อยู่ที่ 3 ppm และสำหรับผลไม้ที่อยู่ใน Group 11–10 ผลไม้ชนิด Pome อยู่ที่ 0.15 ppm
     - ข้อมูลการศึกษาด้านพิษวิทยาและการประเมินการสัมผัสสารเคมีจากอาหาร พบว่ามีข้อมูลที่เพียงพอต่อการคุ้มครองและการรับรองความปลอดภัยของทารกและประชาชนทั่วไป  
     - การได้รับสารตกค้างทั้งในระยะสั้นและระยะยาวที่ปริมาณการตกค้างสูงสุดไม่เกินที่กำหนดขึ้นใหม่นี้ไม่น่าจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพต่อผู้บริโภค
                รายละเอียดเพิ่มเติมศึกษาได้ที่: https://bit.ly/3JiwQ9V

ที่มา : U.S.EPA/Health Canada’s PMRA สรุปโดย : มกอช.

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?