คณะผู้วิจัยในสหรัฐอเมริกาได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของนกที่พบในแปลงผลิตสินค้าพืช กับความเสี่ยงปนเปื้อนเชื้อก่อโรค พบว่ามีความเสี่ยงที่นกในบริเวณแปลงผลิตจะเป็นพาหะนำเชื้อก่อโรคที่สำคัญ เช่น กรณีตัวอย่างในรัฐอลาสกา ที่พิสูจน์ยืนยันว่าการติดเชื้อ Campylobacter จากถั่วลันเตานั้นมีที่มาจากนก แตกต่างจากเชื้อก่อโรคในสินค้าพืชส่วนใหญ่ที่พบว่าเป็นกลุ่ม E. coli และ Salmonella
นอกจากนั้นคณะผู้วิจัยยังพบเชื้อ Campylobacter ถึง 8% จากตัวอย่างแบคทีเรียจากมูลนก 11,000 ตัวอย่าง แต่พบเชื้อก่อโรคกลุ่ม E. coli และ Salmonella เพียง 0.22% และ 0.46% ตามลำดับโดยพบว่าความเสี่ยงจะนำเชื้อก่อโรคมีสูงในนกกินพืชในพื้นที่ๆ มีการเลี้ยงปศุสัตว์ใกล้กับแปลงผลิตพืช ในขณะที่กลุ่มนกกินแมลงและนกอนุรักษ์มีความเสี่ยงต่ำกว่า ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ให้คำแนะนำว่า หากพบว่านกในบริเวณแปลงผลิตเป็นนกกินแมลงและนกอนุรักษ์ของสหรัฐฯ อาจไม่จำเป็นต้องกังวลและกำจัดนก แต่ควรระมัดระวังเพิ่มขึ้นหากมีพื้นที่เลี้ยงปศุสัตว์ในบริเวณใกล้เคียง และให้ความสำคัญต่อการรักษาสุขอนามัยในแปลงผลิต
ที่มา : Foodsafetynews สรุปโดย : มกอช.