TH EN
A A A

อินเดียวางแผนเป็นผู้นำการทำฟาร์มปลา

23 มกราคม 2551   

             ด้วยเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำการผลิตการทำฟาร์มปลา  อินเดียจึงได้จัดทำข้อตกลงกับนอร์เวย์ในการพัฒนาการทำฟาร์มทะเลแบบกระชัง (cage based) การตัดสินใจครั้งนี้หมายถึงการเพิ่มโอกาสสำหรับการส่งออกความชำนาญของนอร์เวย์และเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงมาสู่อินเดีย
            MOU ลงนามในปี 2550 ที่นอร์เวย์โดยผู้แทนจาก หน่วยงานนวัตกรรมนอรเวย์ และหน่วยงานพัฒนาการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของอินเดีย (MPEDA) โดยมุ่งเร่งการพัฒนาการทำฟาร์มทะเลอย่างยั่งยืนในอินเดีย  และอินเดียลดภาษีให้กับปลาซัลมอนจากนอร์เวย์ ภายใต้ MOU อุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงในอินเดียจะมี 3 ระยะ 10 ปี  ในฐานะที่อินเดียเป็นผู้ผลิตกุ้งกุลาดำรายสำคัญ จะมีการนำกุ้งกุลาดำเข้ามาอยู่ในแผนด้วย รวมทั้งฟาร์มทะเลอื่นๆ
ประธานของ  MPEDA กล่าวว่า อุตสาหกรรมอินเดียกระตือรือร้นที่จะร่วมมือกับนอร์เวย์เพราะอุตสาหกรรมปลาซัลมอนของนอร์เวย์สร้างความแตกต่างให้เห็นในตลาดโลก  ในขณะที่ผู้แทนนอร์เวย์กล่าวว่าชายฝั่ง 8,000 กิโลเมตรของอินเดียมีศักยภาพที่จะสามารถสร้างปลาเพาะเลี้ยงจำนวนมหาศาล
             ในข้อตกลงเน้นการใช้เทคโนโลยีแปรรูปที่สามารถนำมาปรับใช้กับอินเดียเพื่อหวังเพิ่มการส่งออกอาหารทะเลแปรรูปให้เป็น 75%ของการส่งออกทั้งหมด   โดยเน้นการร่วมพัฒนาการเพาะเลี้ยงแบบกระชัง   พันธุ์ปลา เช่น  sea bass และ cobia  รวมทั้งการสำรวจชายฝั่งทั้งหมดของอินเดียเพื่อหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการทำการเพาะเลี้ยง  ขณะนี้อินเดียได้จัดตั้งศูนย์สำหรับการฝึกอบรมด้านเทคนิคตามโครงการแล้วและกำลังเตรียมแผนการฝึกอบรมอยู่ ทั้งนี้จะเน้นแผนใน 3 ปีแรกก่อนที่จะกำหนดรายละเอียดอีกครั้งในแผน 7 ปีที่เหลือ

ที่มา  :  Infofish

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?