ตามประกาศแจ้งเวียนมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) และมาตรการอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (TBT) โดยประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก ระหว่างวันที่ 1 – 28 กุมภาพันธ์ 2564 ญี่ปุ่นมีประกาศการแจ้งเวียนที่อาจกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทย ดังนี้
1. ญี่ปุ่นออกประกาศแก้ไขกฎระเบียบในพระราชบัญญัติการอารักขาพืชเกี่ยวกับประกาศและเนื้อหากฎเกณฑ์ข้อบังคับการนำเข้าพืชกักกัน โดยมุ่งเน้นสำหรับพืชที่ต้องดำเนินการตามมาตรการสุขอนามัยพืชแบบจำเพาะในประเทศผู้ส่งออก โดย MAFF (Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries) แก้ไขกฎระเบียบดังนี้ ตามข้อมูลหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ล่าสุด
1.) แก้ไขรายชื่อศัตรูพืชกักกันในตารางที่ 1 ของภาคผนวก ของ Ordinance for Enforcement of the Plant Protection Act: ภาคผนวก 1
2.) แก้ไขรายชื่อพืชที่ใช้กระบวนการตรวจสอบ ณ แหล่งกำเนิด (field inspection) ในประเทศ ผู้ส่งออกในตารางที่ 1-2 ของภาคผนวก ของ Ordinance for Enforcement of the Plant Protection Act : ภาคผนวก 2
3.) แก้ไขรายชื่อพืชห้ามนำเข้าในตารางที่ 2 ของภาคผนวก ของ Ordinance for Enforcement of the Plant Protection Act : ภาคผนวก 3
4.) แก้ไขรายชื่อพืชที่ต้องดำเนินการตามมาตรการสุขอนามัยพืชแบบจำเพาะในประเทศผู้ส่งออก ในตารางที่ 2-2 ของภาคผนวก ของ Ordinance for Enforcement of the Plant Protection Act และระบุรายละเอียดกฎเกณฑ์สำหรับข้อบังคับพืชกักกันนำเข้า โดยมุ่งเน้นสำหรับพืชที่ต้องดำเนินการ ตามมาตรการสุขอนามัยพืชแบบจำเพาะในประเทศผู้ส่งออก : ภาคผนวก 4
5.) แก้ไขรายการศัตรูพืชที่ไม่ต้องกักกัน (non-quarantine pest list): ภาคผนวก 5 รายละเอียดเพิ่มเติม
https://members.wto.org/crnattachments/2021/SPS/JPN/21_0718_00_e.pdf
https://members.wto.org/crnattachments/2021/SPS/JPN/21_0718_01_e.pdf
https://members.wto.org/crnattachments/2021/SPS/JPN/21_0718_02_e.pdf
https://members.wto.org/crnattachments/2021/SP
ทั้งนี้สามารถแสดงความคิดเห็นต่อการแก้ไขกฎระเบียบดังกล่าวได้ถึงวันที่ 2 เมษายน 2564 และเนื่องจากมีกรณีฉุกเฉินที่จะต้องปกป้องราชอาณาจักรจากศัตรูพืช Mediterranean fruit fly (Ceratitis capitata) กฎระเบียบจะมีผลบังคับใช้ทันที ภายหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการทางกฎหมายภายในประเทศญี่ปุ่น (คาดว่าใช้เวลาประมาณ 3 เดือน)
หมายเลขประกาศ G/SPS/N/JPN/827
ที่มา: กนร. สรุปโดย : มกอช.