ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมสมิธโซเนียน (Smithsonian Environmental Research Center, SERC) ของสหรัฐฯ ได้ศึกษาผลของปริมาณออกซิเจนและอุณหภูมิของน้ำทะเลต่อการเจริญเติบโตของหอยนางรมในอ่าวเชสพีกตั้งแต่ช่วงวัยอ่อนจนถึงตัวเต็มวัย โดยพบว่าหอยนางรมที่ในวัยอ่อนเคยสัมผัสกับน้ำทะเลที่มีอุณหภูมิสูงและออกซิเจนต่ำ จะส่งผลให้ยีนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ออกซิเจนด้อยประสิทธิภาพลง และมีแนวโน้มส่งผลต่อการเจริญของเปลือกมากกว่าส่วนเนื้อ ซึ่งทำให้หอยนางรมที่สัมผัสสภาวะดังกล่าวอาจเจริญเติบโตไปเป็นตัวเต็มวัยที่มีขนาดเปลือกใหญ่กว่าปกติได้ถึง 2 เท่า นักวิจัยของ SERC จึงแนะนำให้ป้องกันหอยนางรมวัยอ่อนจากสภาวะที่แหล่งน้ำมีอุณหภูมิสูงและออกซิเจนต่ำเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหอยนางรมมีเปลือกใหญ่แต่ปริมาณเนื้อน้อย
ที่มา : https://www.innovationnewsnetwork.com/warmer-waters-and-low-oxygen-could-impact-young-oysters-ability-to-grow-meat/9818/ สรุปโดย : มกอช.