TH EN
A A A

เกาหลีใต้ออกร่างจำกัดปริมาณ Acrylamide ในอาหาร

14 มกราคม 2564   

                ตามประกาศแจ้งเวียนมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) และมาตรการอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (TBT) โดยประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก ระหว่างวันที่ 16-31 ตุลาคม 2563 เกาหลีใต้มีประกาศการแจ้งเวียนที่อาจกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทย คือ การจัดทำร่างค่ากำหนดเฉพาะ (mg/kg) ของสาร Acrylamide ในอาหาร รายละเอียดสำคัญ ดังนี้    
     1. อาหารเด็กสำหรับทารก/เด็กเล็ก* กำหนดให้ไม่เกิน 0.3 mg/kg
     2. ธัญพืช (Cereal) กำหนดให้ไม่เกิน 0.3 mg/kg
     3. ลูกอม ลูกกวาด กำหนดให้ไม่เกิน 1.0 mg/kg
     4. เฟรนช์ฟราย (อาหารที่เตรียมจากหน่วยบริการอาหาร) กำหนดให้ไม่เกิน 1.0 mg/kg
     5. กาแฟ (กาแฟคั่ว กาแฟสำเร็จรูป กาแฟผสม) กำหนดให้ไม่เกิน 0.8 mg/kg
     6. ชา (ชาเข้มข้น) กำหนดให้ไม่เกิน 1.0 mg/kg
     7. ผลิตภัณฑ์ธัญพืชแปรรูปและอาหารพร้อมบริโภค กำหนดให้ไม่เกิน 1.0 mg/kg
                * นมสูตรทารก นมสูตรต่อเนื่อง อาหารเด็กสำหรับทารก/เด็กเล็ก และอาหารที่มีการจำหน่ายและติดฉลากสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็กบริโภค
     - ระยะเวลาการปฏิบัติใช้: นับจากวันที่ 1 ม.ค. 64 (ทบทวนการกำหนดค่า MLs ภายหลังจากการปฏิบัติจริง ทุก ๆ 2 ปี)
     - ข้อปฏิบัติสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มี Acrylamide สูงกว่าค่ากำหนดเฉพาะ:
     1. กระตุ้นผู้ผลิต ผู้แปรรูป และผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มี Acrylamide สูงกว่าค่ากำหนดเฉพาะ โดยปฏิบัติให้สอดคล้องและพัฒนาตามค่ากำหนดที่แนะนำ (แจ้งผลการตรวจสอบให้แก่ผู้ผลิต ผู้แปรรูป หรือผู้นำเข้า รวมทั้งระงับการนำเข้าผลิตภัณฑ์ ฯลฯ)
     2. การเปิดเผยข้อมูล ** เมื่อมาตรการที่ได้รับการพัฒนาไม่ได้ใช้ในทางปฏิบัติ * สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มี Acrylamide สูงกว่าค่ากำหนดเฉพาะ
                * (อาหารที่มีการจำหน่าย) มีการตรวจวัดภายหลังจับเก็บ 6 เดือน และมีการตรวจสอบสินค้าเดิม (สินค้านำเข้า) ค่า Acrylamide ที่สูงเกินค่ากำหนดเฉพาะอาจเกิดขึ้นได้ 2 ครั้ง หรือมากกว่า
                ** Food Safety Korea website (MFDS) > Hazard and Prevention Information > Products exceeding the recommended Specification
                สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://members.wto.org/crnattachments/2020/SPS/KOR/20_6377_00_x.pdf  
                ทั้งนี้รายละเอียดของประกาศฉบับเต็มเป็นภาษาเกาหลี เพื่อความรวดเร็ว มกอช. จึงขอแนะนำให้ผู้ประกอบการประสานผู้นำเข้าของประเทศคู่ค้าอีกทางหนึ่ง (หมายเลขประกาศ G/SPS/N/KOR/701)
 

ที่มา: กลุ่มนโยบายระหว่างประเทศที่ 1 มกอช.

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?