TH EN
A A A

ญี่ปุ่นกำหนด MRLs สำหรับ Azoxystrobin

11 มกราคม 2564   

                ตามประกาศแจ้งเวียนมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) และมาตรการอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (TBT) โดยประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก ระหว่างวันที่ 16-31 ตุลาคม 2563 ญี่ปุ่นมีประกาศการแจ้งเวียนที่อาจกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทย คือ การแก้ไขข้อกำหนดเฉพาะ มาตรฐาน และจัดทำค่า MRLs ของวัตถุเจือปนอาหาร Azoxystrobin ญี่ปุ่นประกาศแก้ไขข้อกำหนดเฉพาะและมาตรฐานสำหรับวัตถุเจือปนอาหาร Azoxystrobin โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้ https://members.wto.org/crnattachments/2020/SPS/JPN/20_6204_00_e.pdf และได้จัดทำค่า MRLs ของวัตถุเจือปนอาหาร Azoxystrobin ในสินค้าเกษตรหลายชนิด เช่น
      - กำหนดค่า MRL เป็น 0.05 ppm สำหรับอ้อย
      - ปรับเพิ่มค่า MRL เป็น 2.0 ppm สำหรับข้าวบาร์เลย์
      - ปรับเพิ่มค่า MRL เป็น 10.0 ppm สำหรับเมล็ดธัญพืชอื่น ๆ (หมายถึง เมล็ดธัญพืชอื่น ๆ ยกเว้นข้าวกล้อง (brown rice) ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์ ข้าวโพด และโซบะ (buckwheat))
      - ปรับเพิ่มค่า MRL เป็น 7.0 ppm สำหรับมันฝรั่ง
      - ปรับเพิ่มค่า MRL เป็น 5.0 ppm สำหรับผักกาดขาว
      - ปรับลดค่า MRL เป็น 10.0 ppm สำหรับผักกุยช่าย
      - ปรับลดค่า MRL เป็น 3.0 ppm สำหรับผักวงศ์มะเขือ (Solanaceous)
      - ปรับลดค่า MRL เป็นไม่กำหนดค่า สำหรับเห็ดชิทาเกะและเห็ดชนิดอื่นๆ (หมายถึง เห็ดชนิดอื่นๆ ยกเว้นเห็ดกระดุมหรือเห็ดแชมปิญอง (button mushroom) และเห็ดชิทาเกะ (shiitake mushroom)  เป็นต้น
                สามารถดูรายละเอียดสินค้าเกษตรชนิดอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://members.wto.org/crnattachments/2020/SPS/JPN/20_6205_00_e.pdf โดยค่า MRLs ได้มีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2563 (เฉพาะค่า MRLs ที่มีการแก้ไข) (หมายเลขประกาศ G/SPS/N/JPN/783 และ G/SPS/N/JPN/784)

ที่มา: กลุ่มนโยบายระหว่างประเทศที่ 1 มกอช. 

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?