TH EN
A A A

นานาชาติร่วมหาทางสู้พยาธิในเอเซีย

3 สิงหาคม 2563   

                รายงานการประชุมร่วมระหว่างองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) องค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ในหัวข้อ “การประชุมเพื่อผลักดันการควบคุมและป้องกันโรคพยาธิที่ติดต่อสู่คนจากอาหารซึ่งถูกละเลยในบางประเทศเอเซีย” (MEETING TO ACCELERATE PREVENTION AND CONTROL OF NEGLECTED FOODBORNE PARASITIC ZOONOSES IN SELECTED ASIAN COUNTRIES) ณ เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว เผยให้เห็นข้อมูลการแพร่ระบาดของพยาธิก่อโรคในอาหารที่สำคัญ โดยเฉพาะพยาธิใบไม้และพยาธิตัวตืด ซึ่งมีการกระจายตัวขึ้นอยู่กับพื้นที่ เช่นในกัมพูชาพบว่ามีประชากรกว่าร้อยละ 10 ของประเทศที่มีพยาธิใบไม้ตับเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Opisthorchis viverrini) ส่วนในประเทศไทยพบการลดลงของการติดพยาธิใบไม้ตับในประชากรจากประมาณ 10% ในปี 2544 เหลือต่ำกว่า 6% ในปี 2557 ส่วนการติดพยาธิตัวตืดอยู่ที่อัตราต่ำกว่า 1% มาตั้งแต่ปี 2544 ทั้งนี้พบว่าสาเหตุของการติดพยาธิส่วนใหญ่ของหลาย ๆ ประเทศ เกิดจากพฤติกรรมการกินเนื้อสัตว์และปลาที่ไม่ได้ผ่านการปรุงสุก ประกอบกับสุขอนามัยที่ไม่ดีในขั้นตอนการเลี้ยงสัตว์และผลิตเนื้อสัตว์ แนวทางการแก้ไขปัญหาจึงเป็นการพัฒนาระบบคุณภาพของการผลิตและให้ความรู้แก่ประชากรในการเพิ่มสุขอนามัยในการบริโภค และประเทศต่าง ๆ ยังต้องตั้งเป้าหมายและวางแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนในการป้องกันและควบคุมโรคพยาธิ
               ผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจสามารถศึกษาเอกสารรายงานการประชุมฉบับเต็มได้ที่ https://iris.wpro.who.int/bitstream/handle/10665.1/14543/RS-2018-GE-50-LAO-eng.pdf   
 

ที่มา : https://www.foodsafetynews.com/ สรุปโดย : มกอช.

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?