TH EN
A A A

ผลการศึกษาในเคนยาพบอูฐอาจแพร่โคโรนาไวรัสได้

10 มิถุนายน 2563   

                 โคโรนาไวรัสคือกลุ่มของไวรัสที่ก่อโรคโควิด-19 ซึ่งระบาดอยู่ในขณะนี้ ไวรัสกลุ่มนี้มีหลายชนิด มีระดับการก่อโรคและความรุนแรงแตกต่างกัน โดยเชื้อโคโรนาไวรัสชนิดหนึ่งที่เคยปรากฏการติดเชื้อและแพร่ระบาดในมนุษย์คือเชื้อโรคเมิร์ส (Middle East Respiratory Syndrome: MERS) ซึ่งแพร่ระบาดมาจากประเทศซาอุดิอาระเบียในปี2555 โดยเชื้อไวรัสมีต้นกำเนิดในค้างคาว แพร่ไปยังอูฐ และติดมายังมนุษย์ได้ในที่สุด
                 อูฐเป็นสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อเป็นอาหารในเคนยา โดยปัจจุบันทั่วประเทศเคนยามีอูฐประมาณ 3,000,000 ตัว ด้วยความเป็นแหล่งเพาะเชื้อที่เหมาะสมของอูฐ ผู้เลี้ยงและผู้ปฏิบัติงานใกล้ชิดจึงอาจมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเมิร์สได้ โดยมีรายงานการศึกษาพบว่าผู้ปฏิบัติงานใกล้ชิดกับอูฐในเคนยาบางส่วนมีภูมิต้านทานไวรัสเมิร์สโดยที่ไม่เคยมีอาการป่วยมากกว่าระดับของไข้หวัดธรรมดามาก่อน บ่งชี้ว่าอูฐสามารถเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคมายังมนุษย์ได้ แต่อาจเป็นเชื้อสายพันธุ์ที่ไม่รุนแรง ทั้งนี้ล่าสุดปรากฎการเจ็บป่วยด้วยอาการของระบบทางเดินหายใจและล้มตายลงของอูฐลงอย่างไม่ทราบสาเหตุในบางพื้นที่ของเคนยา แต่ผู้เกี่ยวข้องให้ข้อมูลว่าไม่ได้เกิดจากโรคเมิร์ส และกำลังดำเนินการตรวจสอบอยู่ในขณะนี้
                 ในไทยเองแม้ไม่มีอูฐในธรรมชาติ แต่อาจมีอูฐในพื้นที่เพาะเลี้ยง รวมไปถึงสัตว์ในสกุลอูฐอย่างอัลปากาในหลายพื้นที่ จึงอาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค ผู้ปฏิบัติงานและใกล้ชิดกับสัตว์กลุ่มนี้จึงควรมีความระมัดระวังในการปฏิบัติงาน ตลอดจนดูแลรักษาสุขอนามัยในการเพาะเลี้ยงเพื่อป้องกันโรคระบาดและความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น             

ที่มา : https://theconversation.com/ สรุปโดย : มกอช.

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?