TH EN
A A A

องค์กรสากลหวั่น COVID-19 สะเทือนวิกฤติขาดแคลนอาหารในจีน

15 เมษายน 2563   

                องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การการค้าโลก (WTO) เตือนการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อปัจจัยการผลิตและอาจนำไปสู่วิกฤตทางการขาดแคลนอาหาร
                ในส่วนของประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีผู้บริโภคและการนำเข้าอาหารมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก ถือว่ามีเสี่ยงอย่างมากจะเกิดวิกฤตการขาดแคลนอาหาร การระบาดโควิด-19 ทำให้ยากต่อการผลิตอาหารเพิ่ม นอกจากนี้ยังมีประเด็นข้อจำกัดในการเดินทางและผ่านแดน ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตร และการเคลื่อนย้ายอุปทานการผลิต ในขณะที่ประเทศอื่นๆ บางแห่งเริ่มจำกัดการส่งออกสินค้าและอาหาร หรือประสบปัญหาการแพร่ระบาดของแมลงศัตรูในพืชอาหารที่สำคัญ
                สถานการณ์อุตสาหกรรมปศุสัตว์ในจีนยังมีความซับซ้อนตั้งแต่ปัญหาการผลิตและนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ เงินเฟ้อ รวมทั้งโรคระบาดในปศุสัตว์ โดยเฉพาะอหิวาต์สุกรแอฟริกันที่ทำให้เกิดการสูญเสียปริมาณสุกรในประเทศถึงประมาณครึ่งหนึ่ง
                ปัจจุบัน จีนยังจำเป็นต้องพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากตลาดโลกที่สำคัญหลายรายการ เช่น ถั่วเหลือง น้ำตาล และนมโค โดยเฉพาะถั่วเหลืองที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าถึงร้อยละ 80 การผลิตและขนส่งอาหารเพื่อสนองความต้องการของประชากรกว่า 1.4 พันล้านคน จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตของชาวจีนที่เปลี่ยนไป เช่น ปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์ต่อปีที่ระดับ 50 กิโลกรัมต่อคน ย่อมส่งผลต่อความต้องการพืชอาหารสัตว์สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว หรือการเปลี่ยนแปลงพื้นที่การเกษตรเป็นพื้นที่การผลิตเชิงอุตสาหกรรมหรือเขตเมือง ที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตปัจจัยทางการเกษตรภายในประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

ที่มา : South China Morning Post สรุปโดย : มกอช.

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?