TH EN
A A A

อุตฯประมงเมียนมาสูญรายได้ยับ เหตุคู่ค้าหลักพักนำเข้า

25 มีนาคม 2562   
                ในปี 2561 ผู้ซื้อรายใหญ่ของพม่า อาทิ ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอเมริกาหยุดการนำเข้าสินค้าประมงจากอุตสาหกรรมประมงพม่า ส่งผลให้การส่งออกสินค้าประมงและผลิตภัณฑ์อาหารทะเลลดลง ในขณะที่ แนวโน้มความต้องการที่มากขึ้นจากบังคลาเทศที่เป็นคู่แข่งสำคัญ เป็นการบังคับให้ภาคอุตสาหกรรมประมงของพม่าต้องสรรหาสินค้าและกลยุทธ์ใหม่
                โดยส่วนใหญ่ พม่าส่งออกปลาที่ได้จากแหล่งธรรมชาติและผลิตภัณฑ์อาหารทะเลไปยังไทยและจีน ส่วนผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเพิ่มมูลค่าถูกส่งออกไปยังญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ ปลาไนและปลาดุกเลี้ยงนำไปขายให้กับบังคลาเทศ อินเดีย และสหราชอาณาจักร
                ตั้งแต่เดือนเมษายน 2561 ซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำเข้าปลาจากพม่ารายใหญ่ ได้พักการนำเข้าปลายี่สกเทศจากพม่า หลักจากพบว่าปลาพันธุ์เดียวกันจากเวียดนามมีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อน โดยพม่าออกมาประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่าปลายี่สกเทศที่พม่าเพาะพันธุ์ไม่มีเชื้อแบคทีเรีย แต่การสั่งห้ามการนำเข้าปลาจากเวียดนาม พม่า บังคลาเทศ และอินเดีย ยังไม่มีการยกเลิกเช่นกันกับสหรัฐอเมริกาที่หยุดซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลจากพม่าตั้งแต่สิ้นปี 2560 เนื่องจากพม่าไม่ได้ใช้เครื่องกรองเต่า (Turtle Excluder Devices: TED) ในตาข่ายจับปลา ซึ่ง TEDs เป็นอุปกรณ์พิเศษในการปล่อยเต่าให้ออกจากตาข่ายจับปลาของชาวประมงได้เมื่อถูกจับมาโดยไม่ได้เจตนา ในการนี้ ประธานสมาพันธ์ประมงของพม่าเผยว่า การถูกแบนจากกลุ่มผู้ซื้อสินค้าประมงรายใหญ่ส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักทางการค้าอย่างรุนแรงและเกิดความสูญเสียทั้งต่อรายได้จากการส่งออกของประเทศและรายได้ของอุตสาหกรรมประมงท้องถิ่น
 
ที่มา : www.mmtimes.com สรุปโดย : มกอช.

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?