TH EN
A A A

การระบาดของโรคติดต่อในปศุสัตว์ หวั่นกระทบส่งออกเนื้อหมูสหรัฐ

20 กุมภาพันธ์ 2562   
                จากสถานการณ์การระบาดโรคติดต่อของปศุสัตว์ในปัจจุบัน อาจทำให้สหรัฐต้องหยุดการส่งออกเนื้อหมูและหมูพ่อแม่พันธุ์ รัฐอาจต้องเรียกคืนความเชื่อมั่นของตลาดส่งออกที่ใช้เวลานานนับปี ซึ่งในปี 2561 สหรัฐมีการส่งออกเนื้อหมูกว่า 26% ของที่ผลิตได้ในประเทศ มีการคาดการณ์ว่าผลจากการระบาดในสหรัฐ จะทำให้ราคาเนื้อหมูลดลงอย่างรวดเร็ว และจากผลกระทบจากโรคติดต่อทั้ง 3 ที่เป็นภัยร้ายแรงต่อการปศุสัตว์ คือ โรคปากและเท้าเปื่อย(FMD) โรคอหิวาต์สุกร(CSF) และ โรคอหิวาต์สุกรอัฟริกัน(ASF) อาจก่อความเสียหายคิดเป็นมูลค่ากว่าพันล้านเหรียญต่อปี โดยตัวอย่างในปี 2554 เฉพาะโรค FMD ทำให้สหรัฐฯสูญเสียรายได้ส่งออกไปกว่า 3 แสนล้านบาท
                จากการศึกษาแบบจำลองผลกระทบของโรคติดต่อในปศุสัตว์ พบว่า การระบาดของ CSF อาจทำให้ราคาเนื้อหมูลดลงถึง 45% ในขณะที่หาก FMD เกิดการระบาด คาดว่าอาจทำให้มีปริมาณการส่งออกเนื้อแดงของสหรัฐ(เนื้อหมู เนื้อวัว และเนื้อแกะ) รวมไปถึงสัตว์ที่ยังมีชีวิตลดลงกว่า 95% และส่งผลกระทบเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือนหลังจากระงับการระบาดของเชื้อ FMD นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ เช่น การจัดการโรงงาน การกักกันและกำจัดโรค และการจัดการสัตว์ที่ติดเชื้อเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด และอาจมีผลกระทบไปสู่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจเกษตร ท้ายสุดแล้ว คาดการณ์ว่าการระบาดของโรคติดต่อในปศุสัตว์อาจสร้างความเสียหายแก่ภาคการเกษตรสหรัฐมูลค่ากว่า 6 ล้านล้านบาท  ซึ่งเทียบได้กับ 1 ใน 3 ของงบประมาณในกระทรวงกลาโหมสหรัฐปี 2560 ที่มีมูลค่ากว่า 18 ล้านล้านบาท 
                ในขณะนี้การแพร่ระบาดของโรค ASF ไม่ได้มีเฉพาะในสหรัฐ แต่ได้มีการแพร่ระบาดไปยังจีน และยุโรป สิ่งที่ ASF แตกต่างจากโรคติดต่อในสัตว์อื่นคือ การระบาดของ ASF ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน และในเชื้อบางสายพันธุ์อัตราการตายของสัตว์ที่ติดเชื้อใกล้เคียงกับ 100% การระบาดของ ASF หรือ CSF อาจส่งผลต่อการขยายตัวของตลาดเนื้อหมูในสหรัฐ เนื่องจากการลดลงของราคาที่อาจมากถึง 50% และจากการศึกษาพบว่าในขณะที่มีการระบาดของ FMD ผู้บริโภคในประเทศจะมีการบริโภคเนื้อหมู เนื้อวัวหรือเนื้อแกะลดลงถึง 10% และหลังจากสิ้นสุดการระบาด ความต้องการของผู้บริโภคจะยังคงลดลงในระดับ 5% เป็นเวลาประมาณ 3 เดือน จนกว่าจะเรียกความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์กลับคืนมา
 
 
ที่มา : www.thepigsite.com สรุปโดย : มกอช.

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?