ผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกกำลังเรียกร้องให้สหภาพยุโรป (EU) กำหนดแผนบริหารจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตก เพื่อลดผลกระทบของการใช้ลากอวนจับปลา โดยนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกว่า 150 คน ได้ร่วมลงนามใน "ปฏิญญาทะเลเมดิเตอร์เรเนียน" เพื่อกระตุ้นให้สหภาพยุโรป และประเทศสมาชิกหยุดวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งที่มีการทำประมงมากที่สุดในโลก ตามรายงานจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations :FAO) โดยหนึ่งในผู้ลงนาม กล่าวว่า วิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมนี้กำลังเกิดขึ้นอย่างรุนแรง เนื่องจากยุโรปปล่อยปละละเลยปัญหาดังกล่าวมาเป็นเวลานาน ดังนั้นทาง EU ต้องยอมรับแผนการจัดการปัญหาในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตก ตามหลักวิทยาศาสตร์ เพื่อป้องกันการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในทะเล
ทั้งนี้ข้อมูลขององค์กร Oceana เกี่ยวกับพบปัญหาในสต็อกปลากว่าร้อยละ 90 ที่โดยเฉลี่ย มีการจับปลาเกินปริมาณที่ควรควบคุมถึง 2 เท่า ซึ่งแผนดำเนินการต่อเนื่องสำหรับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตกเพื่อให้มีประสิทธิภาพ ควรแก้ไขปัญหาดังต่อไปนี้
1.จำกัดการใช้ลากอวนเนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ทำลายทรัพยากรประมงที่สุด เนื่องจากพบว่ามีการเพิ่มพื้นที่ลากอวนในระดับลึกถึง 50 – 100 เมตร อุปกรณ์ในปี 2561 แต่พบว่าพื้นที่ตั้งกล่าวเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ
2.ป้องกันแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำในเขตพื้นที่ที่มีความลึกมากกว่า 100 เมตร โดยการปิดน่านน้ำชั่วคราวหรือถาวร
3.กำหนดปริมาณจำกัดการจับให้สอดคล้องกับคำแนะนำทางวิทยาศาสตร์เพื่อที่จะฟื้นคืนสัตว์น้ำให้มีปริมาณในระดับที่ยั่งยืน
โดยการเรียกร้องดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนการประชุมหารือกับสภายุโรป ในวันที่ 24 กันยายน 2561
ที่มา: FIS.com สรุปโดย: มกอช.