TH EN
A A A

ลดการใช้ยาปฎิชีวนะในการเลี้ยงไก่เนื้อ

29 มีนาคม 2561   
                องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา(U.S. Food and Drug Administration, USFDA) เริ่มหาแนวทางลดการใช้ยาปฎิชีวนะในกระบวนการผลิตเนื้อไก่ เนื่องจากเป็นสารเคมีที่สามารถตกค้างในเนื้อไก่และจะส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว
                ยาปฎิชีวนะจึงถือว่ามีบทบาทสำคัญมากในกระบวนการเลี้ยงไก่ เพราะช่วยฆ่าเชื้อและปรับสมดุลลำไส้ไก่ ดังนั้น การลดปริมาณสารปฎิชีวนะในการเลี้ยงไก่เนื้อจึงเป็นเรื่องท้าทาย เพราะการลดปริมาณการใช้ยาปฎิชีวนะในการเลี้ยงไก่เนื้อ หมายถึงปริมาณสารเคมีตกค้างในเนื้อไก่ที่ลดลง ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค ทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อยาปฎิชีวนะสำหรับผู้ประกอบการอีกด้วย
                ถึงแม้ขณะนี้ยังไม่มีสารที่สามารถใช้แทนยาปฎิชีวนะได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่เป็นสิ่งจำเป็นที่จะหาวิธีที่ทำให้ผลผลิตดีดังเดิม ในขณะที่สามารถลดปริมาณการใช้ยาปฎิชีวนะให้น้อยลงได้ สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ การป้องกันการติดเชื้อ เพราะหากไก่ตัวหนึ่งติดเชื้อ เชื้อโรคสามารถแพร่ไปทั้งฝูงได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะทางมูลไก่ ดังนั้น ควรลดโอกาสการติดเชื้อให้น้อยลง เพราะจะช่วยให้การใช้ยาปฎิชีวนะลดลงด้วยเช่นกัน  และเพื่อป้องกันการติดเชื้อ จำเป็นต้องพิจารณาช่องทางที่เชื้อโรคเข้ามาในโรงเลี้ยงไก่ น้ำ อาหารสัตว์ หนู นก แมลง อุปกรณ์ที่ใช้ในฟาร์ม รวมถึง ของใช้ส่วนตัว ล้วนแล้วสามารถเป็นพาหะนำเชื้อเข้าโรงเลี้ยงไก่ได้ทั้งสิ้น ดังนั้น สุขอนามัยภายในสถานเลี้ยงไก่จึงเป็นสิ่งสำคัญ
                สิ่งสำคัญต่อมาคือ สุขอนามัยของอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ ต้องพิจารณาย้อนไปถึงโรงงานผลิต การขนส่ง และ การจัดเก็บ ตลอดจนต้องมีการกระบวนการฆ่าเชื้อก่อนการจัดเก็บอีกด้วย เพราะหากอาหารมีเชื้อโรค ก็เป็นเรื่องง่ายที่ไก่จะติดเชื้อและแพร่เชื้อไปทั้งฝูง ทั้งนี้ อาหารไก่ควรจัดเก็บในที่มิดชิดที่สิ่งมีชีวิตไม่สามารถเข้าไปได้ และ ปราศจากความชื้น 
 
 

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?