นักวิจัยสเปนพัฒนาโพลิเมอร์เรืองแสงตรวจจับสารปรอทตกค้างในสัตว์น้ำ โดยการนำหัววัดที่มีโพลิเมอร์เรืองแสง “JG25” ไปสัมผัสกับตัวอย่างเนื้อปลาและโพลิเมอร์จะเรืองแสงสีฟ้าหลังจากผ่านรังสีอัลตราไวโอเลตโดยความเข้มแสงขึ้นอยู่กับอัตราส่วนระหว่าง methylmercury และสารปรอทอนินทรีย์ที่พบ
ทั้งนี้ นักวิจัยกลุ่มดังกล่าวยังพบว่า ปลาที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจะมีปริมาณสารปรอทมากขึ้น โดยพบปรอทในปริมาณ 1-2ppm ในปลากระโทงดาบ, ปลาทูน่าและปลาฉลามหลังหนาม ปริมาณ 0.5ppm ในปลาตูนา (ปลาไหลทะเลชนิดหนึ่ง) และ 0.2ppm ในปลา panga แต่ไม่พบในปลาแซลมอนเลี้ยง ซึ่งปลาดังกล่าวเป็นปลาขนาดใหญ่ที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร
สารปรอทที่พบในสิ่งแวดล้อมจะมาจากแหล่งธรรมชาติ แต่ในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมเป็นสาเหตุให้ในบางพื้นที่มีความเข้มข้นของปรอทในทะเลเพิ่มขึ้น อันตรายจากสารปรอทที่รู้จักกันดีคือ โรคมินามาตะ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการควบคุมการเคลื่อนไหวและระบบประสาทเนื่องจากสารปรอทจะไปทำอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลาง นอกจากนี้ สารปรอทยังสามารถส่งผ่านรกจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ ทำให้เด็กมีความพิการทางสมองตั้งแต่เกิดได้ ในห่วงโซ่อาหารปริมาณสารปรอทสามารถลดลงโดยเปลี่ยนรูปเป็น methylmercury (MeHg+) ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ หรืออยู่ในรูปประจุบวก (Hg2+) ในสารประกอบเกลืออนินทรีย์