กรมปศุสัตว์ออกคำสั่งสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรให้ควบคุมการใช้ยา Colistin (โคลิสติน) อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันเชื้อดื้อยาแพร่ระบาดในมนุษย์และสัตว์ โดยให้ดำเนินการดังนี้
1. ห้ามสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสั่งหรือใช้ยาโคลิสตินผสมอาหารหรือละลายน้ำให้สัตว์กินเพื่อป้องกันโรค
2. หากสัตว์มีอาการป่วยให้สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มใช้หลักวิชาการสัตวแพทย์ในการรักษา ส่วนยา
โคลิสตินจะใช้ได้เมื่อไม่มียาปฏิชีวนะชนิดไหนใช้ได้ผลเท่านั้น
3. สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มต้องรายงานการใช้ยาโคลิสตินแก่สำนักงานปศุสัตว์เมื่อใช้ยาดังกล่าว
4. สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มต้องคัดกรองและตรวจสอบอาหารสัตว์สำเร็จต้องไม่โคลิสตินผสมอยู่
5. กรมปศุสัตว์จะส่งเจ้าหน้าที่สุ่มตรวจฟาร์ม หากพบการใช้โคลิสตินที่นอกเหนือจากข้อสองจะพิจารณาสถานะสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม
เมื่อปี 2558 จีนพบหมูและคนดื้อยาโคลิสตินจากยีน MCR-1 ที่สามารถส่งสารพันธุกรรมหรือเชื้อดื้อยาข้ามจากสัตว์มาสู่คน และจากคนไปสัตว์ รวมถึงสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ในช่วงปี 2553-2558 มีรายงานการพบยีน MCR-1 ในมนุษย์ หมู และไก่ ใน 16 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย ทั้งนี้ ข้อมูลจากทีมวิจัยสัวตแพทย์ จุฬาฯ ที่นำตัวอย่างเชื้อจากฟาร์มหมูในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม ราชบุรี และชลบุรี จำนวน 17 ฟาร์ม ที่เก็บไว้ตั้งแต่ปี 2547-2557 มาวิเคราะห์พบเชื้อดื้อยาโคลิสตินร้อยละ 40-100 และพบยีนดื้อยา MCR-1 จำนวนร้อยละ 20-66 และยืนยันการพบยีนกลายพันธุ์ชนิดนี้ในคนไทยแล้ว 3 คน
ที่มา: allaboutfeed.net สรุปโดย: มกอช.