แคนาดา-สหราชอาณาจักร จับมือเอกชน "ผ่าทางตันเชื้อดื้อยา" หลังพบปัญหาสะสม "การใช้สารปฏิชีวนะเกินจำเป็น" ในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก โดยเฉพาะเพื่อการป้องกันไม่ใช่รักษาโรค
ปัจจุบันปัญหาการใช้สารปฏิชีวนะ (antibiotics) ในจุดประสงค์มิใช่เพื่อการรักษาโรค เช่น การใช้ในเชิงป้องกัน (preventive control) ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นสาเหตุหลักของปัญหาเชื้อดื้อยาในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ซึ่งเป็นปัญหาร้ายแรงและส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อการสาธารณสุข
ในส่วนของแคนาดา ปัจจุบันพบปัญหาเชื้อดื้อยาในภาคการเกษตรเพิ่มสูงขึ้น ทั่วประเทศ จึงได้หาทางร่วมมือภาคเอกชนในการระดมสมองแก้ไขปัญหาเชื้อดื้อยา โดยมุ่งเน้นในการพัฒนาการเกษตรที่ทันสมัยและเข้มงวดเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้า
ในขณะเดียวกัน สหราชอาณาจักร (UK) โดยหน่วยงาน The British Poultry Council (BPC) ได้ออกมายอมรับว่ามีการใช้สารปฎิชีวนะมากเกินไป ได้ปฏิบัติการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาเชื้อดื้อยาในอุตสาหกรรมสัตว์ปีกโดยประธาน Gwyn Jones ได้ออกมากล่าวว่า “สุขอนามัยโลกครวรักษาความสะอาดไม่สัมผัสเนื้อดิบและปรุงอาหารให้สุกเพื่อป้องกันการดื้อยา” แต่อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมยังต้องเป็นส่วนหนึ่งในการควบคุมการแพร่กระจายสารปฎิชีวนะอีกทางหนึ่ง ซึ่งคาดว่าการจับมือกันของระหว่างเอกชนกับแคนาดาและสหราชอาณาจักรนั้นจะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการทำปศุสัตว์แบบเกษตรอินทรีย์ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมและประสบความสำเร็จในปีที่ผ่านมา
ที่มา: Worldpoultry.net สรุปโดย: มกอช.