จากรายงานโครงการ Agricultural Outlook 2016-2025 ขององค์การเพื่อการร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) และ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่าใน 10 ปีข้างหน้า ราคาสินค้าเกษตรจะอยู่ในอัตราคงที่ ราคาสินค้าปศุสัตว์อาจเพิ่มขึ้นตามการผลิต ส่วนราคาอาหารนั้นคาดว่าจะมีความผันผวนน้อยกว่าสินค้าเกษตร และจากรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ทำให้มีความต้องการเนื้อ ปลา และสัตว์ปีกที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นำไปสู่ความต้องการของธัญพืชที่ใช้ในอาหารสัตว์ ส่งผลให้ธัญพืชมีราคาสูงขึ้นซึ่งรวมไปถึงข้าวและข้าวสาลี
ทั่วโลกมีความต้องการอาหารและอาหารสัตว์มากขึ้นเนื่องจากมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นและร่ำรวยมากขึ้น ส่งผลให้มีการเพิ่มผลิตภาพและคาดว่าจะมีการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตประมาณร้อยละ 80 ของผลผลิตที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด นอกจากนี้ทั้งสององค์กรยังคาดการณ์ว่าจำนวนของประชากรที่ขาดสารอาหารในโลกจะต่ำลงจาก 800 ล้านคนเป็น 650 ล้าน ในปี 2025 เนื่องจากมีอาหารเพิ่มขึ้น
อธิบดี FAO กล่าวว่าการเจริญเติบโตของการผลิตนั้นต้องสัมพันธ์กับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นทั้งอาหารคน อาหารสัตว์และวัตถุดิบสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องพัฒนาอย่างยั่งยืนและคาดหวังว่าต้องการสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ในอนาคตจะสอดคล้องกับการเพิ่มผลผลิตมากกว่าการขยายพื้นที่เพาะปลูกหรือฝูงปศุสัตว์
การค้าสินค้าเกษตรในตลาดโลกคาดว่าจะเติบโตปริมาณร้อยละ1.8 ต่อปี ในช่วงสิบปีข้างหน้า การส่งออกจะมาจากเพียงไม่กี่ประเทศ ในขณะที่การนำเข้าจะเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ ซึ่งทาง OECD และ FAO ให้ความสำคัญกับการตลาดที่มีประสิทธิภาพในการถ่ายเทอาหารจากที่ซึ่งเกินความต้องการไปยังที่ที่ขาดแคลนและเพิ่มความมั่งคงทางอาหาร
ที่มา: thecattlesite สรุปโดย: มกอช.